กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวแป-ระร่วมใจ ชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื่อรัง
รหัสโครงการ L8408-61-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษาและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ 17.5 ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตพื้นที่ตำบลแป-ระ พบว่า มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 501 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 152 คน (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ของจังหวัดสตูล HDC ปีงบประมาณ2560) และมีการคัดกรองภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 487 ราย พบว่ามีภาวะเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง จำนวน 76 ราย (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ของจังหวัดสตูล HDC ปีงบประมาณ 2560) ซึ่งเมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease ERSD) จะต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต สำหรับประชาชนที่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) สิทธิที่รัฐบาลให้ใช้ได้ คือการล้างไตทางช่องท้องเมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และประเทศจะต้องสูญเสียงบประมาณด้านสาธารณสุขเป็นเงินจำนวนมหาศาล โรคไตเป็นสาเหตุการป่วย พิการ และเสียชีวิตในอันดับต้นๆของโลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติ ทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคนี้ คือ ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนลงพุง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 2. เพื่อให้อาสาสมัครครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 3. ชะลอความเสื่อมของไต ผู้ป่วยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่า egfr ร้อยละ 4

ผู้ป่วยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่า egfr ร้อยละ 4

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 30,050.00
จัดอบรมผู้ป่วยเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน)ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ให้เกิดการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม 0 0.00 30,050.00
  1. ประชุมหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกับ อสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.แป-ระ
  2. คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไตและจัดทำทะเบียน
  3. จัดทำโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขตำบลแป-ระ
  4. จัดอบรมผู้ป่วยเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน)ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ให้เกิดการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เช่น อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย เพื่อลดเสี่ยง ป้องกันภาวะไตเสื่อม
  5. จัดอบรม อาสาสมัครดูแลผู้ป่วย ให้มีความรู้ ความเข้าใจในโรคเรื้อรัง และเกิดการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยให้ปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เช่น อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย เพื่อลดเสี่ยงป้องกันภาวะไตเสื่อม
  6. คัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากได้รับการการอบรมแล้ว 3 เดือนโดยการติดตาม และประเมินผู้ป่วยซ้ำจากการตรวจคัดกรอง ค่า egfrที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยจัดให้มีรางวัลสำหรับผู้ป่วยที่มีค่า egfr เพิ่มขึ้น
  7. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง
  2. อาสาสมัครดูแลผู้ป่วย มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงภาวะไตเรื้อรังลดลง และลดอุบัติการณ์ในการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2561 09:48 น.