กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านสามัคคีปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษลดรายจ่ายตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 1 - 12
รหัสโครงการ 61-L2542-02-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกรรมการหมู่บ้านตำบลสากอ
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลอีซำ บินหามะ ตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการหมู่บ้านตำบลสากอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาสนา การุณรักษื
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.008,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.พ. 2561 30 เม.ย. 2561 120,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 382 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนํามาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้ง วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือก บริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทําลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทําให้เกษตรกรที่ปลูกผัก จะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกําจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความ ต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนํามาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทําการปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนําเอา วิธีการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้ สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ให้ได้รับการบริโภคพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและยากําจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดไว้ ในประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง คณะกรรมการหมู่บ้านตำบลสากอจึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านสามัคคีปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษลดรายจ่ายตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 1 – 12 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
2. ให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืชทําให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย
3. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
4. ลดปริมาณการนําเข้าสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
5. เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทําให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น
6. ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้าซึ่งเปนการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้ได้พืชที่มีคุณภาพ ไม่มีสารตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

 

0.00
2 ให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย

 

0.00
3 ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
4 ลดปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันกำจัดศัครูพืช

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 120,000.00 1 84,700.00
ปลูกฝักสวนครัวปลอดสารพิษลดรายจ่ายตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 0 120,000.00 84,700.00

1) จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการและมอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ ประสานงาน
2) ดำเนินการขออนุมัติโครงการ 3) จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
4) ดำเนินการตามโครงการในพื้นที่เป้าหมาย 5) ติดตามผลและประเมินผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทําให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
  2. ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน และกําจัดศัตรูพืช ทําให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย
  3. ช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
  4. ช่วยลดปริมาณการนําเข้าสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
  5. ช่วยเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทําให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น
  6. ช่วยลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้าซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2561 13:29 น.