กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่มีพาหะนำโดยแมลง
รหัสโครงการ 61-L2532-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่4บ้านไอตีมุง
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่4บ้านไอตีมุง
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯอบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 4 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.876,101.764place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่มีพาหะนำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาตลอด เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคชิกุนคุนยา โรคไวรัสซิกา เป็นต้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสีย ทั้งชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสำหรับหมู่บ้านไอตีมุง หมู่ที่4 ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ยังเป็นพื้นที่ที่ปัญหาการป่วยและระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียมาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาข้อมูลการระบาดของโรค 3ปี ย้อนหลังพบว่า โรคไข้เลือดออกในปี2558 มีผู้ป่วย2ราย อัตราการป่วย 578.03ต่อแสนประชากร และในปี2559 และ 2560 ไม่พบผู้ป่วย สำหรับโรคมาลาเรีย ในปี2558 ไม่มีผู้ป่วย ปี2559พบผู้ป่วย 3รายอัตราป่วย 867.05ต่อแสนประชากร และในปี2560 ไม่พบผู้ป่วย จากข้อมูลการระบาด ผลของการดำเนินงานที่ไม่พบผู้ป่วย อาจเป็นเพราะ การควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และจากการป้องกันโรคก่อนถึงฤดูการระบาด ทำให้ 2-3ปีที่ผ่านไม่พบผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดโรคที่ผ่านมา พบว่าแนวโน้มการระบาดของโรค 1ปี เว้น2ปีดังนั้นกลุ่มอสม.บ้านไอตีมุง ได้มีแนวทางแก้ไข โดยเน้นการให้ความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน จึงได้จำทำโครงการขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาแบบเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ไม่เกิน50 ต่อแสนประชากรและไม่พบผู้ป่วยโรคมาลาเรีย

0.00
2 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน วัด และบ้านเรือน และสามารถลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายได้

ร้อยละ95 มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าในการควบคุมโรคที่ถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมโรคโดยมีพาหะเป็นแมลงได้ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเพื่อแจ้งปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข 2.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคที่พาหะเป็นแมลง 3.รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่ 4.จัดตั้งทีมอสม.น้อย กำจัดโรคที่มีพาหะเป็นแมลง 5.ติดตาม ประเมิินผล และสรุปผลของการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้มีไม่เกิน50ต่อแสนประชากร 2.ไม่พบผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 3.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุงลายในชุมชน วัด และบ้านเรือน 4.สามารถลดอัตราการชุกของลูกน้ำยุงลายได้ 5.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 09:15 น.