กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละมอ
รหัสโครงการ 61-L1478-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละมอ
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 95,164.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละมอ
พี่เลี้ยงโครงการ วิไลภรณ์ เยาว์ดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
41.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคมโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอยู่เป็นรูปธรรมกับประชาชน ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดให้ตัวแทนภาคประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนากองทุนระดับตำบลให้สามารถบรรลุตามเจตนารมณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น จะต้องมีการพัฒนาคณะกรรมการกองทุนฯ ให้มีความรู้ ความสามารถ เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตรับผิดชอบของกองทุนฯ มีความเข้าใจในการดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของกองทุนฯ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริหารจัดการโครงการของคณะกรรมการ อนุกรรมการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และตัวแทนภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อบต.ละมอจึงจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละมอ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการฯ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนตัวแทนภาคประชาชนให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ซึ่งจะต้องบริหารจัดการกองทุนฯ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ดำเนินเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ อนุกรรมการและคณะทำงาน
  1. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละมอ ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ร้อยละ 80 ของแผนงานทั้งหมด
  2. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพดำเนินงานตามแผนงานโครงการร้อยละ 80 ของแผนงานทั้งหมด
0.00
2 2. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านธุรการแลรายงานต่างๆ
  1. ให้การดำเนินงานด้านธุรการ เช่น การรายงานประชุม การจัดทำโครงการ รายรับ-รายจ่ายเป็นปัจจุบันการจัดทำแผนงานโครงการ
0.00
3 3. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและติดตามประเมิน
  1. ให้การดำเนินงานโครงการและการติดตามรายงานผลเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
0.00
4 4. เพื่อให้การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานโครงการครบทุกหมู่บ้านตรงตามต้องการของชุมชนและสังคม
  1. ภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน อสม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร้อยละ 80 เข้าร่วมจัดทำแผนฯ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 95,164.00 0 0.00
ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ 0 36,000.00 -
ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการกลั่นกรองโครงการและติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ 0 13,200.00 -
ประชุมคณะทำงานด้านการเงินและบัญชี 0 2,400.00 -
ประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 0 8,100.00 -
ประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน 0 5,000.00 -
ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์และครุภัณฑ์ในการ ดำเนินการบริหารจัดการกองทุน ฯ 0 12,000.00 -
ค่าจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ เอกสารและป้าย ประชาสัมพันธ์งานกองทุนฯ ในการจัดทำ แผนงานโครงการ 0 15,964.00 -
ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างและการใช้แผนงานโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 1 ครั้ง/ปี 2562 0 2,500.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อเตรียมวางแผนการจัดประชุม
  2. จัดประชุมอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ สาธารณสุขและตัวแทนภาคประชาชนผู้เกี่ยวข้อง
  3. จัดทำแผนการพัฒนา/โครงการเพื่อรองรับกิจกรรมในปีงบประมาณ 2562
  4. ประเมินผลความรู้คณะกรรมการกองทุนฯ
  5. สรุปโครงการรายงานผลการดำเนินโครงการประจำปี 2561
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีความเข้าใจในการกำหนดกิจกรรม/โครงการในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนเกิดขวัญและกำลังใจ มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ สร้างความสามัคคีสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 10:57 น.