กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข
รหัสโครงการ 61-L2532-01-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 7,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติไอปาโจ
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯอบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.876,101.764place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การใช้้สารเคมีในการเกษตร เริ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรที่พึ่งพาตนเองและธรรมชาติ การผลิตเพื่อบริโภค เป็นการผลิตการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการค้า การผลิตที่เน้นปริมาณ โดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพและความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีชนิดต่างๆ ซึ่งสารเคมีนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรง ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารเคมี โดยสามารถรับเข้าสู่ร่างกายได้ทางสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดม การบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี และการการรั่วซึมของสารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลันเช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่ามัว และเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพฤตอัมพาต โรคผิวหนัง การพิการ และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้นและสถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่บันทึกไว้ในแต่ละปีอาจเป็นเพียงตัวเลขขั้นต่ำ แต่มีการประเมินผู็ป่วยจริงอาจอยู่ที่ 200,000-400,0001 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าและใช้สารเคมีในประเทศ จากการดำเนินงานในปี2560 สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ ได้จัดกิจกรรมคัดกรองการประเมินความเสี่ยง (แบบนบก.๑) ซึ่งพบผู้เข้าร่วมมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจนถึงเสี่ยงสูงมาก และจากกิจกรรมการเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนดอสเตอเรส พบว่า ผลการคัดกรองในประชาชนที่เป็นเกษตรกรและไม่ได้เป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่มีสารเคมีอยู่ในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ จึงจัดทำโครงการนี้ เพื่อจะดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชให้ปลอดภัยจากโรคภัยที่เกิดจากการสะสมสารเคมีในร่างกาย แลการส่งเสริมวิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชแทนสารเคมีให้มากขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เกิดความตระหนัก และการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้วิธีธรรมชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี พึ่งพาตนเองได้ และเพื่อผลการผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ คุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสารเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักเรื่องสารเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากชึ้น

0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด

ร้อยละ 20 ของเกษตรกรได้รับการคัดกรองสุขภาพตามแนวทางที่กำหนด

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดโรคจากการประกอบอาชีพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลตนเอง 2.จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ "เกษตรปลอดโรค ผู็บริโภคปลอดภัยสมุนไพรล้างพิษ กายใจเป็นสุข" 3.สัมภาษณ์โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนดเพื่อประเมินความเสี่ยงทางกายและจิต 4.เจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด 5.ติดตามกลุ่มเสี่ยงทุก3เดือน และส่งต่อในกรณีพบความเสี่ยงสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.เกษตรกรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 11:59 น.