กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง
รหัสโครงการ 61-L5169-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดปรางแก้ว
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 36,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปัญญา ศรีลารักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 36,710.00
รวมงบประมาณ 36,710.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมี "อาหาร" ที่เพียงพอและมีคุณภาพ ถือเป็น "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ที่คนทุกคนไม่ว่า ยากดีมีจนควรเข้าถึง ทว่าในความเป็นจริงกลับพบการปนเปื้อนของสารพิษตกค้างในอาหารได้ทั่วไป อาทิ ผัก-ผลไม้ ดังการเปิดเผยของ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) เมื่อเดือนต.ค. 2559 ระบุว่า ผลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ ทั้งในห้างค้าปลีกชื่อดังและตลาดขายส่งขนาดใหญ่ จำนวน 158 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างถึงร้อยละ 56

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยเมื่อเดือน เม.ย. 2560 ว่า กระทรวงเกษตรฯ มียุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพื่อเข้าสู่ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน ซึ่ง 1 ในเป้าหมายคือ "มุ่งลดการใช้สารเคมีให้ได้ร้อยละ 10 ภายใน 5 ปี" ตัวชี้วัดคือการตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานต้องลดลงจากปัจจุบันร้อยละ 10 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจ ภายใน 5 ปี ดังนั้นการหาผักปลอดสารพิษมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในพื้นที่ของโรงเรียนเอง

สถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายในโรงเรียนวัดปรางแก้ว โดยภาพรวมนักเรียนส่วนมากมีการบริโภคอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย แต่ตรวจสุขภาพร่วมกับโรงพยาบาลคลองหอยโข่งพบว่ามีนักเรียนบางส่วนประสบปัญหาทุพโภชนาการ เนื่องจากมีสุขนิสัยที่ไม่ถูกต้องในการเลือกรับประทานอาหาร เช่น ไม่ชอบรับประทานผักกินอาหารประเภทเดิมซ้ำ ๆ กัน ชอบรับประทานขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์ดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวานชอบรับประทานอาหารที่มีผงชูรส และพบว่านักเรียนไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน ทำให้อาหารมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่สุดของนักเรียนซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนไม่ได้รับการส่งเสริมให้เหมาะสมกับนักเรียนที่กำลังเจริญเติบโตอย่างสมวัยซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผู้ปกครองที่ยังไม่เห็นความสำคัญในการสอนบุตรหลานให้เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการรับประทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน และจากการประเมินภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วในปีการศึกษา 2560 พบว่า มีนักเรียนเตี้ย จำนวน 3 คน ผอมและเตี้ย จำนวน 2 คน อ้วน จำนวน 5 คน

ด้วยเหตุนี้โรงเรียนวัดปรางแก้วได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการทั้งขาดและเกินของนักเรียน รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเองในโรงเรียนขึ้นเพื่อลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนและมีความรู้และแนวทางในการจัดการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องยั่งยืนโรงเรียนวัดปรางแก้วจึงได้จัดทำโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเองขึ้น โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน / 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์และนำไปใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ / 3. นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ทำให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและปลูกพืชผักในแปลงผักของโรงเรียนได้
  2. ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ / ปริมาณพืช ผักที่ผลิตได้
  3. ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วลดลง
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35.00 6 36,700.00
19 พ.ค. 61 สร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกผัก ปลอดสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันและอาหารเช้า 0 15.00 15,800.00
26 พ.ค. 61 - 26 ก.พ. 61 การทำปุ๋ยอินทรีย์ 0 15.00 15,800.00
27 พ.ค. 61 การทำปุ๋ยอินทรีย์ 0 0.00 0.00
2 มิ.ย. 61 สร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกผัก ปลอดสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันและอาหารเช้า 0 5.00 5,100.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 สร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกผัก ปลอดสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันและอาหารเช้า 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 การทำปุ๋ยอินทรีย์ 0 0.00 0.00

1) สำรวจความต้องการ ความจำเป็นของการดำเนินการตามโครงการ 2) ประสานงานกับเครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งลาน 3) จัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ดังนี้ 3.1 กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวัน
3.1.1 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 3.1.2 การปลูกผักชนิดต่างๆของคนสามวัยในแปลงผักของโรงเรียน 3.1.3 การนำผลผลิตไปทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 3.2 กิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ 3.2.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ 3.2.2 การทำปุ๋ยอินทรีย์ 3.2.3 การนำปุ๋ยไปใช้ในแปลงผักของโรงเรียน 4) สรุปผลหลังดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
  2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์และนำไปใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
  3. นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ทำให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2561 13:14 น.