กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง ปี 2561
รหัสโครงการ 61 - L3356 - 3 - 04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง
วันที่อนุมัติ 27 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประทีป มณี
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.585,100.002place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กในช่วงอายุ 2 - 5 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ไปพร้อมๆ กันโภชนาการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาของเด็กการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจึงมีความสำคัญในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันโรคดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีเพื่อให้มีสภาวะร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรงโภชนาการจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพเด็กที่มีการส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆ
การเจริญเติบโตของเด็กในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมากต่อโครงสร้างทางด้านร่างกายและสมอง โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง ส่งผลต่อระดับเชาวน์ปัญญาและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งมีผลต่อการสร้างภูมิทานโรคดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ อาหารและภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก โดยเด็กปฐมวัยต้องมีความพร้อมของ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยครบทุกคน

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็กวัยก่อนเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางมีภาวะโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 2 - 5 ปี

ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 748.00 0 0.00
19 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้ความเข้าใจการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 0 2.00 -
19 - 30 ก.ย. 61 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 740.00 -
20 - 30 ก.ย. 61 การชั่งน้ำหนัก - และวัดส่วนสูงเด็ก พร้อมเปรียบเทียบผลก่อนและหลังดำเนินโครงการ 0 6.00 -
  1. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง
  2. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
  3. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
  4. เชิญพ่อแม่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
    • ความสำคัญของอาหาร ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอมและอาหารที่ควรลดสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกิน
    • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก
    • ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง
    • วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
    • การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
  5. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับพ่อแม่ในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักน้อยหรือผอมและเด็กที่มีน้ำหนักเกิน 5.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    • ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
    • กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ ลดอาหารในเด็กน้ำกระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 5.2 ที่บ้าน
    • พ่อแม่ กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน
    • พ่อแม่เด็กน้ำหนักเกินควรลดอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน
  6. ชั่งน้ำหนัก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 2 เดือน และแนะนำพ่อแม่ให้ดำเนินการต่อเนื่อง
  7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการประเมินโภชนาการ พัฒนาการที่ล่าช้าและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ
  2. มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยทั้งด้านร่างกาย สังคม สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ
  3. ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการ เด็กอายุ 2 – 5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 10:18 น.