กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ปีงบประมาณ ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L5293-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนฯ
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานกองทุนฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.พ. 2561 9 ก.พ. 2561 2,400.00
รวมงบประมาณ 2,400.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (2,400.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (36,175.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2553ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อให้การบริหารจัดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความคล่องตัวและมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน ดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชน เพื่อดำเนินงานในการส่งเสริมสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งงบประมาณเพื่อจัดบริการสุขภาพให้กับประชาชนได้รวดเร็วและทั่วถึงตามสถานการณ์สุขภาพของชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนจึงต้องมีการบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่ายงานของรัฐ เอกชน รวมทั้งกลุ่มองค์กร ทั้งประชาชนในการร่วมดูแลส่งเสริมป้องกันและสนับสนุนส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง

การบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ และพัฒนาระบบบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการประชาชนในพื้นที่ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจร่วมกันบริหารจัดการกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออนุมัติแผนงานและโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

มีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ ๔ ครั้ง โครงการที่เสนอได้รับการอนุมัติร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯให้เกิดประสิทธิภาพ
  1. จัดซื้อจัดหาวัสดุเพียงพอต่อการดำเนินงานบริหารกองทุนฯ
  2. คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่กองทุนฯได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพมีความรู้ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานกองทุนฯ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,175.00 0 0.00
9 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ 0 36,175.00 -

กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ๑. ขั้นตอนการวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระการประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ๒. ขั้นตอนการเตรียมการดำเนินงาน - ติดต่อ ประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ประกอบการดำเนิน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม
๓. ขั้นตอนดำเนินงาน - จัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย4ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน
- สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ/การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ ที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ - กำหนดวันดำเนินการจำนวน 1 ครั้ง/ปี - จัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ เพื่อกำหนดนัดหมาย - ประสานงานวิทยากร
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน สถานที่ในการประชุม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ
-จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ จัดกิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ๑. จัดเตรียมแผนการลงพื้นที่
๒. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ๓. ประสานผู้นำพื้นที่ /เจ้าหน้าที่ /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
กิจกรรมการบริหารจัดการในสำนักงานกองทุนฯ(จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์) 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดรายการวัสดุ และครุภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ - กำหนดคุณสมบัติของวัสดุ และครุภัณฑ์ที่จะดำเนินการจัดหา - ดำเนินการสืบราคาวัสดุ และครุภัณฑ์ตามรายการ เบื้องต้น
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม
4. จัดทำบัญชีวัสดุและลงทะเบียนครุภัณฑ์เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในกิจการของกองทุนฯ
สรุปผลกิจกรรม /รายงานกิจกรรม/โครงการ การเงิน การบัญชี ต่อคณะกรรมการกองทุนฯและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  2. การรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
    1. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 10:54 น.