กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายมานพรัตนคุณนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ชื่อโครงการ โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7250-1-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ถึง 31 พฤษภาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7250-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2561 - 31 พฤษภาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 28,500.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เป้าหมายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ เรื่องการพัฒนาศักยภาพคนและสร้างสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ายิ่งของสังคมไทย ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันที่ส่งผลให้ลักษณะครอบครัวไทย เปลี่ยนจากครอบครัวขยายไปสู่ครอบครัวเดี่ยว ทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลงจากข้อมูลสถิติจังหวัดสงขลา มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น จำนวน ๑๙๕,๕๓๙ คน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา) นับเป็น ๑๔ % ของประชากรทั้งจังหวัด และในอีก ๖ ปีข้างหน้าการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จังหวัดสงขลาจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและประชากรวัยนี้จะเป็นวัยที่ประสบกับปัญหาสุขภาพมากมายทั้งในเพศหญิงและเพศชาย
จากการสุ่มสำรวจข้อมูลประชากรในเขตเทศบาลนครสงขลา ที่มีอายุระหว่าง ๔๐ – ๕๙ ปี พบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยระบบอวัยวะต่างๆที่สำคัญ ๔ ระบบ ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบโครงกระดูก ระบบทางเดินปัสสาวะอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก และด้านจิตใจ อารมณ์ แม้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าไม่ได้รับความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา มีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีการเตรียมตัวในการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น การบริโภคอาหารที่ดีเพียงพอเหมาะสมตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพเป็นประจำ การมีสุขภาพจิตที่ดี และการมีสุขภาพทางเพศที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ มีสุขภาพดี อายุยืน ลดโรค ลดความพิการ ลดอาการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆที่จะเกิดขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การเข้าสู่วัยสูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดูแลผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและเทศบาลนครสงขลา ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพเหล่านี้จึงได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลาขึ้น ให้ประชาชนได้มีสุขภาพกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตที่แจ่มใส

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้าสู่วัยทองเกี่ยวกับสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังตนเองและหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการในวัยผู้สูงอายุ
  2. ๒. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองในด้านต่างๆได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 80
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงช่วงวัยทอง การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม ในสภาพแวดล้อมที่ดีและสามารถใช้ชีวิตอย่างความสุข
    ๒. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถประเมินสุขภาพของตนเอง และคนใกล้ชิดที่กำลังเข้าสู่วัยทองได้อย่างถูกต้อง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑. รับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม ที่มีอายุระหว่าง 4๐ – ๕๙ ปี ในเขตเทศบาลนครสงขลา ๒. ดำเนินการจัดอบรมเตรียมความพร้อมแก่ผู้ที่เข้าสู่วัยทอง
    ๓. ประเมินผลหลังการอบรม โดยใช้แบบประเมินความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจ ๔. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้าสู่วัยทองเกี่ยวกับสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังตนเองและหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการในวัยผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ๑. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมผู้ที่จะเข้าสู่วัยทอง โดยใช้แบบประเมินความรู้
    0.00 80.00

    ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ในการเตรียมความพร้อมผู้ที่จะเข้าสู่วัยทอง ร้อยละ๙๐ (แบบทดสอบ)

    2 ๒. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองในด้านต่างๆได้
    ตัวชี้วัด : ๒. ร้อยละ ๘๐ ผู้ที่เข้ารับการอบรม สามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเอง โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพตนเอง (สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย)
    0.00 80.00

    ร้อยละ 100 ผู้เข้ารับการอบรมเตรียมความพร้อมสู่วัยทองทุกคน สามารถประเมินภาวะสุขภาพของตนเองได้ ( แบบประเมินสุขภาพ )

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 80 80
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ที่เข้าสู่วัยทองเกี่ยวกับสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังตนเองและหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการในวัยผู้สูงอายุ (2) ๒. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถประเมินภาวะสุขภาพตนเองในด้านต่างๆได้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 61-L7250-1-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายมานพรัตนคุณนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด