กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผนึกกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ ส่งเสริมการป้องกันไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสมงหมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 17 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 22,232.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.หมู่ที่8
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2561 30 เม.ย. 2561 22,232.00
รวมงบประมาณ 22,232.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นโรคติดต่อที่ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญโรคหนึ่ง โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคไข้เลือดออกนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ รายได้หน้าที่การงาน สังคม และส่งผลกระทบต่อชีวิต ทั้งนี้พื้นที่หมู่ที่ 8 นั้นมีลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเขา ประกอบอาชีพเกษตรกรกรรมสวนยางพาราเป็นส่วนใหญ่ และมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ของยุงลาย และก่อให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทางระบาดวิทยา ในวันที่ 1 มกราคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560 มีรายงานผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด 66 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 21.07 ต่อประชาการแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 3.03 มีการระบาดทุกอำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอมะนัง อัตราป่วยเท่ากับ 45.11 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอท่าแพ อำเภอเมือง อำเภอละงู อำเภอควนกาหลง และอำเภอควนโดน อัตราป่วยเท่ากับ 42.30 , 42.05 , 20.44 , 11.31 , 8.78 และ 7.73 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีทางกีฎวิทยา จากการสุ่มประเมินของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า Hi , Ci สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและต่อเนื่องต่อไป (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ; 2560) และส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี รองลงมา คือ อายุ 5 – 9 ปี และ 15 – 24 ปี เนื่องจากจังหวัดสตูลมีลักษณะภูมิประเทศ แบบมรสุมเขตร้อนซึ่งจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน เพราะง่ายต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลายซึ่งพาหะนำโรคไข้เลือดออก ซึ่งในหมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสาในปี พ.ศ.2558 จนถึงปัจจุบันนั้นยังไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน (งานสุขาภิบาลและการโรค โรงพยาบาลทุ่งหว้า,2559) ถึงแม้ในชุมชนบ้านควนตำเสาจะยังไม่พบผู้ป่วย แต่ถึงอย่างไรก็ตามการป้องกันโรคและการเฝ้าระวังการเกิดไข้เลือดออกในชุมชนก็ยังคงมีความสำคัญที่ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งเริ่มจากบุคคลในครอบครัว และชุมชน โดยมี อสม. เป็นแกนนำในการดำเนินการเฝ้าระวังและรณรงค์ในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และเยาวชนในชุมชนถือเป็นกำลังสำคัญกลุ่มหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ดังนั้น อสม. หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสาจึงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า จัดทำโครงการผนึกกำลังเยาวชนรุ่นใหม่ ต้านภัยไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสาขึ้นเพื่อสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนในชุมชนในการเป็นแรงขับเคลื่อนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง การรณรงค์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตลอดจนการกระตุ้นคนในชุมชนให้มีความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้เยาวชนหมู่ที่ 8 มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้

1.ร้อยละ 80 เยาวชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เยาวชนหมู่ที่ 8 มีส่วนร่วมในการทำนวัตกรรมและการทำกิจกรรมในการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

2.เยาวชนหมู่ที่  8 เกิดการร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,232.00 0 0.00 22,232.00
21 ก.พ. 61 - 30 เม.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 0 12,232.00 - -
21 ก.พ. 61 - 30 เม.ย. 61 ทำนวัตกรรมยาหม่องไล่ยุง 0 10,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 22,232.00 0 0.00 22,232.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้แกนนำเยาวชนหมู่ที่ 8 มีความรู้เรื่องไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนในชุมชนได้
  2. เพื่อให้แกนนำเยาวชนหมู่ที่ 8 เกิดการร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 11:58 น.