กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ภายในเขตเทศบาลนครสงขลา ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 57,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศริทิพย์มุณีสว่าง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 155 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย โดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก ทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ วัณโรคดื้อยาหลายขนาน พบมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 ราย หรือคิดเป็น 171 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีผู้ป่วยเสียชีวิต 12,000 ราย รวมทั้งมีปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานคาดปีละ 2,200 ราย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยวัณโรคเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ, 2560) ประเทศไทยมีอัตราป่วยวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 1.3 เท่า มีผู้ป่วยที่ตรวจพบและรายงาน ร้อยละ 59 ของที่คาดประมาณเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงการที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเข้าถึงการรักษาล่าช้าหรือเข้าไม่ถึง ทำให้แพร่กระจายเชื้อในชุมชน และทำให้แต่ละปีอัตราป่วยคาดประมาณลดลงได้เพียงช้า ๆ เท่านั้น การจะบรรลุเป้าหมาย SDGs และ End TB ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการดำเนินงานในทิศทางใหม่เพื่อสามารถยุติปัญหาวัณโรคอย่างจริงจัง ก่อนที่สถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมและรักษาด้วยยาสูตรพื้นฐานได้ วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว โดยสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องควบคุมตามหลักการควบคุมวัณโรคโดยเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและนำเข้าสู่การดูแลรักษาให้หายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษา มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยาต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคในเขตเทศบาลนครสงขลา ในปี พ.ศ.2560 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 85 ราย แยกเป็นผู้ป่วย M+ จำนวน 47 ราย ผู้ป่วย M- จำนวน 35 ราย ผู้ป่วย MDR จำนวน 3 ราย มีผู้ป่วยที่ขาดยาทั้งหมด 3 ราย ซึ่งในปี 2561 อาจมีแนวโน้มการระบาดของโรคกระจายไปทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลนครสงขลา ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาวัณโรคให้ลดน้อยลง งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเทศบาลนครสงขลา ได้ให้ความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค และตระหนักถึงความสำคัญเร่งรัดดำเนินการโครงการป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และการใช้วิธี DOT ในระดับชุมชน ไม่ให้แพร่กระจายและติดต่อผู้อื่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำและผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคภายในเขตเทศบาลนครสงขลา

3.๑ การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการและชุมชน มากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 2.2 เพื่อประเมินสถานการณ์วัณโรคภายในเขตเทศบาลนครสงขลา

3.2 อัตราสำเร็จการรักษาหายขาดของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ มากกว่าร้อยละ 90

0.00
3 2.3 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของวัณโรคภายในเขตเทศบาลนครสงขลา

3.3 อุบัติการณ์ของการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ไม่เพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการ
  2. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจง/ติดตามประเมินผลโครงการ
  3. แต่งตั้งคณะทำงานควบคุมวัณโรค
  4. พัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรค
  5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแล และ อสม.ในชุมชน โดยใช้สื่อการเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วย
  6. ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคโดยแกนนำ อสม.ทุกเดือน เดือนที่ 1-2 เยี่ยม 2 ครั้ง เดือนที่ 3-6 เยี่ยมเดือนละ 1
    ครั้ง รวมทั้งหมด 8 ครั้ง พร้อมทั้งติดตามดูแลในเรื่องการรับประทานยาของผู้ป่วย
  7. ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จากผู้สัมผัสร่วมบ้าน (กลุ่มเสี่ยง) โดยแกนนำ อสม.
  8. สรุปผลการดำเนินงานโครงการและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.๑ ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 9.2 การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 9.3 ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 13:41 น.