กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีดในตำบลตุยง
รหัสโครงการ 61-L3065-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ รพ.หนองจิก
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุทิศา....สุวรรณมณี
พี่เลี้ยงโครงการ มะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.832,101.178place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากคำสอนของศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยากต่อการส่งเสริมการคุมกำเนิด ทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูง ส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์เสี่ยงในพื้นที่สูงเช่นกัน งานอนามัยแม่และเด็กจึงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญจนถึงทุกวันนี้ ในอำเภอหนองจิกเองปีงบประมาณ 2560 ยังพบมารดาเสียชีวิตถึงสองราย จากสาเหตุที่ป้องกันได้ คือการตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้ยังพบการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณทั้งที่มีความเสี่ยงสูง อัตราการมาฝากท้องก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของประเทศทำให้ระยะเวลาในการดูแลก่อนคลอดมีน้อย ในด้านผดุงครรภ์โบราณได้มีการตกลงหาแนวทางร่วมกันกับผดุงครรภ์โบราณและกำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อให้คลอดอย่างปลอดภัยและลดอัตราการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณซึ่งจะนำเพิ่งนำมาใช้ กรกฎาคม 2560 และรอประเมินผลอยู่ แต่ภาวะซีดเรามีนโยบายต่างๆโดยเฉพาะการให้ความรู้มานานมากแต่ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะซีดหญิงตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อตัวหญิงตั้งครรภ์เองและบุตรในครรภ์ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ถึง2เท่า สุขภาพทั่วไปอ่อนแอ อ่อนเพลียง่าย ภูมิต้านทานต่ำลงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักบุตรแรกคลอดน้อย ตกเลือดหลังคลอด(อุ่นใจ กออนันตกุล และคณะ,254๙) จึงอยากวิเคราะห์หาสาเหตุว่าจริงๆๆแล้วก่อนตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธ์มีภาวะซีดตั้งต้นอยู่เท่าไหร่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอะไร ในระยะตั้งครรภ์ต้องการวิเคราะห์สาเหตุรายบุคคล ให้ความรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละครอบครัวและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาของอำเภอหนองจิกต่อไป ๑.๒ สภาพปัญหา เมื่อทบทวนผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตำบลตุยงปี ๒๕๕๙และปี ๒๕๖๐ พบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ยังมีถึง๒๑.๓%,๒๒.๕% ตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ แต่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๒ มีถึง ๒๖.๐๓%,๕๒% ตามลำดับ อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดทั้ง๒ครั้งคิดเป็น ๘.๒๒%,๒๒% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของประเทศและปัญหาทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์๑๒สัปดาห์ยังน้อยกว่า๘๐%

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและให้การรักษาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ ที่อยู่กินกับสามี

หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ๑๕-3๐ปีที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและหากมีภาวะซีดได้รับการรักษาไม่ น้อยกว่า ๘๐

50.00
2 เพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และสาเหตุที่ทำให้การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ
  1. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ ไม่เกินร้อยละ ๑๐
  2. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ แต่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๒ ไม่เกิน ร้อยละ๓๐
  3. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดทั้ง๒ครั้ง ไม่เกินร้อยละ๕๐
50.00
3 เพื่อให้ความรู้ด้านโภชการให้เหมาะกับแต่ละบุคคล กระตุ้นให้รับประทานยาบำรุงเลือดสม่ำเสมอโดยมี ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแล

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ๑๕-3๐ปีที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและหากมีภาวะซีดได้รับการรักษาไม่ น้อยกว่า ๘๐ 2. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ ไม่เกินร้อยละ ๑๐ 3. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ แต่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๒ ไม่เกิน ร้อยละ๓๐ 4. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดทั้ง๒ครั้ง ไม่เกินร้อยละ๕๐

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 2 10,000.00 0.00
21 ก.พ. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมประเมิน ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด 0 5,000.00 5,000.00 0.00
6 เม.ย. 61 จัดอบรมด้านโภชนาการและการรับประทานยาให้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและครอบครัวและเครือข่ายแม่และเด็ก 0 5,000.00 5,000.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 10,000.00 2 10,000.00 0.00
  1. ประชุมชี้แจงส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีดในตำบลตุยงกับอสม. และเครือข่ายแม่และเด็ก
  2. คัดกรองและรักษาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่กินกับสามีที่มีอายุ 15-๔๒ปี จำนวน ๑๐๐ ราย
  3. จัดอบรมด้านโภชนาการและการรับประทานยาให้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและครอบครัวและเครือข่ายแม่และเด็ก จำนวน 50 คน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและให้การรักษาภาวะซีด 2. รู้สาเหตุของภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และสาเหตุที่ทำให้การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ 3. เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านโภชการให้เหมาะกับแต่ละบุคคลโดยมีครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 15:55 น.