กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้อยู่ดีมีสุข ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมบานไม่รู้โรย ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 33,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันทิพย์สุวรรณวงศ์ประธาน ชมรมบานไม่รู้โรย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 430 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งส่วนบุคคลครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพที่ดี ตลอดจนแนวทางการควบคุมและป้องกันโรค ที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อภาวะสุขภาพของประชาชน ซึ่งการแพทย์แผนไทยเป็นกรรมวิธีทางภูมิปัญญาที่อิงความเป็นธรรมชาติ และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย อีกทั้งยังเป็นการรักษาความเจ็บป่วยแบบองค์รวม เป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้านสุขภาพที่ประชาชนสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการเฝ้าระวังโรค ในการบำบัดรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทย ได้ใช้วิธีการอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่มีการรวมกลุ่ม อย่างเข้มแข็งในการดูแลตนเองและแลกเปลี่ยนปัญหาทางด้านสุขภาพชมรมบานไม่รู้โรยได้เข้ามาเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
จากการดำเนินงานของชมรมบานไม่รู้โรย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่๒๖มีนาคม๒๕๕๐ ได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๑๐ ปีแล้ว ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด ๔๓๐ คน พบว่าสมาชิกและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมบานไม่รู้โรย ได้แก่ การประชุมสมาชิกเป็นประจำทุกเดือน เพื่อเรียนรู้การดูแลตนเอง การส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมจากวิทยากรและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ จากสมาชิกด้วยกัน การจัดกิจกรรมพบปะสังสรรค์วันบานไม่รู้โรย กิจกรรมกีฬาสัมพันธ์นันทนาการ และตัวแทนชมรม เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลนครสงขลา ทำให้ชมรมบานไม่รู้โรยมีความเข้มแข็งเป็นที่รู้จักกัน อย่างกว้างขวางชมรมบานไม่รู้โรย ซึ่งเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงเห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง๕๔ชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อให้การดูแลส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วย พร้อมทั้งลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาและเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย รวมทั้งผู้ป่วยสามารถนำกลับไปปฏิบัติใช้ที่บ้านเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างปกติสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

๑. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรย มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่เกิน 5 %

0.00
2 ๒. เพื่อให้สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  1. สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความพึงพอใจในการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ > ๘๐%
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชมรมบานไม่รู้โรย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๒.จัดทำโครงการ ๓.เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๔.ติดต่อประสานวิทยากร สถานที่ ๕.จัดเตรียมเอกสาร , วัสดุอุปกรณ์

ขั้นดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการชมรมบานไม่รู้โรย ๒. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับนวัตกรรมและรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย โรคเรื้อรัง สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยเดือนละครั้ง ทุกวันพุธที่ ๒ ของเดือน ๓. จัดกิจกรรมจัดฐานการเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพสร้างความสัมพันธ์ ๔. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชมรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น (นอกสถานที่) ๕. เยี่ยมเพื่อนสมาชิกที่เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล ๖. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง ๒.สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีการรวมกลุ่มและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีความเข้มแข็ง ๓.สมาชิกชมรมบานไม่รู้โรยมีความรักและความสามัคคีระหว่างสมาชิกด้วยกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2561 09:24 น.