กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รหัสโครงการ 61-L7250-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมขนพาณิชย์สำโรงศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 13,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสภาวดีอินทร์ชัยอสม.ชุมชนพาณิชย์สำโรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วทุกมุมโลกเปลี่ยนไปจากเดิม นิยมรับประทานอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป ไม่มีเวลาพักผ่อน และออกกำลังกาย แต่มีเวลาดื่มสังสรรค์ และสูบบุหรี่เพื่อเข้าสังคม รวมถึงภาวะเครียด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนนำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) หรือที่เรียกว่า“โรควิถีชีวิต”ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง อ้วนลงพุง หลอดเลือดสมอง และหัวใจ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพิการและเสียชีวิตตามมา สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือ พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ นอกจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมา เพราะการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ดีที่สุด มีแต่ตัวของเราเองเท่านั้นที่ “ทำได้” หากเริ่มต้นลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเองตั้งแต่วันนี้การมีสุขภาพดีก็จะตามมา
แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปี ที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคนเสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี จากข้อมูลการดำเนินงานการเฝ้าระวังควบคุมโรคไม่ติดต่อในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข ปี๒๕60 พบว่า ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพร้อยละ 92.81 (2400 คน) พบกลุ่มเสี่ยง 268 คน คิดเป็นร้อยละ 11.19 พบกลุ่มเสี่ยงสูง 268 คน คิดเป็นร้อยละ 11.17
จากปัญหาดังกล่าว อสม.และแกนนำชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงหาแนวทางในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อสร้างความเข้าใจถึง สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต อันเป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยมีเป้าหมายเพื่อลดกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กลายเป็นกลุ่มปกติ

๑. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ร้อยละ  9๐ 2. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเปลี่ยนเป็นกลุ่มปกติ  ร้อยละ  10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงติดตาม – ประเมินผล 2 ครั้ง ๒. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ. ๒ ส. กับกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจ ๓. การติดตามประเมินผลเดือนละครั้ง โดยบัดดี้คู่หู อสม. 1 คน : กลุ่มเสี่ยง 1 คน 4. บันทึกข้อมูลลงในสมุดบันทึก ติดดาวผู้ที่ดูแลควบคุมตนเองได้ดี 5. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามดูแลสุขภาพไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่สามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้กลับไปเป็นกลุ่มปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2561 09:29 น.