กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมนครสงขลาสร้างสุขภาพ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-04-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวสุธิดานนทพันธ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วยและภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง จากสภาพการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วทุกมุมโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมนิยมรับประทานอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป ไร้เวลาพักผ่อน ขาดการออกกำลังกาย แต่มีเวลาดื่มสังสรรค์และสูบบุหรี่เพื่อเข้าสังคม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนนำมาซึ่งการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมะเร็ง อ้วนลงพุง หลอดเลือดสมองและหัวใจ จากสรุปผลการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี ๒๕๖๐ของเทศบาลนครสงขลาพบว่าประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตร้อยละ ๘๘.๕๙พบกลุ่มเสี่ยงสูงมากร้อยละ ๑.๐๗ และคัดกรองเบาหวานร้อยละ ๘๕.๔๖พบกลุ่มเสี่ยงสูงมากร้อยละ ๐.๒๑และได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ๒๖.๒๙และพบป่วยเป็นมะเร็ง๒๑คนคิดเป็นร้อยละ๐.๖๙ และได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ๓๕.๙๖พบป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ๑๐๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๑๒ และพบมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๐ แม้ระบบสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้น และระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาพยาบาลเป็นหลัก ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ดูแลสุขภาพแบบเชิงรุกด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชน การเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง บริโภคอาหาร ที่สุก สะอาด ปลอดภัย ไม่ติดยาเสพติด ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดีเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่าย ๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำและป้องกันโรคต่าง ๆ อาทิ โรคเบาหวานโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน เพื่อลดปัญหา ที่สามารถป้องกันได้ ทั้งทางกาย จิต สังคม โดยประชาชนมีส่วนร่วม จำเป็นจะต้องมีความรู้ มีทักษะ ที่ถูกต้อง ครอบคลุมเนื้อหากิจกรรม ๓ อ. ๒ ส. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์สุขภาพจิตสุรา บุหรี่ การแพทย์แผนไทยและการบริการด้านทันตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้กินถูกหลัก รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ และออกกำลังกายเป็นประจำ อันเป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อให้ก้าวสู่การมีสุขภาพที่ดี และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว เกิดการร่วมมือแบบบูรณาการในการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายพันธมิตรในชุมชน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายขยายขอบเขตการบริการส่งเสริมสุขภาพไปยังประชาชนผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภทให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้นงานศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสงขลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน ในเขตเทศบาลนครสงขลา ให้ได้รับการส่งเสริมสุขภาพทางด้านสมุนไพรเพื่อสุขภาพ นวัตกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆด้านการแพทย์แผนไทย และด้านการบริการทันตกรรมเป็นต้น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้เรื่องสุขภาพมากขึ้นจึงได้จัดทำโครงการมหกรรมนครสงขลาสร้างสุขภาพปี๒๕๖๑ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อจัดกิจกรรมการออกกำลังกายให้กับประชาชนและชมรมรักษ์สุขภาพ

๑.  ชมรมรักษ์สุขภาพในเขตเทศบาลนครสงขลาเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย ร้อยละ ๖๐

0.00
2 ๒. เพื่อให้ทีมงานทางด้านสุขภาพ และกองทุนหลักประกันสุขภาพในเขตพื้นที่ต่าง ๆ นำเสนอผลงาน

๒.  มีการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมงานด้านสุขภาพและกองทุนหลักประกันสุขภาพในเขต               พื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาระบบสุขภาพให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๕. วิธีดำเนินการ ๑.จัดทำแผนงาน/โครงการ ๒.ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ๒.๑จัดการประชุมในระดับต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ ๒.๒กำหนดรูปแบบ/กิจกรรมต่าง ๆ ๒.๓เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร/วัสดุอุปกรณ์/งบประมาณ ๒.๔ประสานภาคีความร่วมมือทั้งภาคราชการและเอกชน ๒.๕ฯลฯ ๓.ดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ๓.๑จัดกิจกรรมการตรวจสุขภาพให้กับประชาชน นวดแผนไทยและทันตกรรม ๓.๒นวัตกรรมชุมชนการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ๓.๓นวัตกรรมการออกกำลังกาย ๔.รายงานสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.ประชาชนได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองและได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ในด้านข้อมูล
สุขภาพ ๒.มีผลทำให้เกิดการรวมตัวด้านสุขภาพของหน่วยงานและเครือข่ายภาคประชาชนที่ช่วยให้ผู้สนใจในการรัก สุขภาพได้รับความรู้และนำไปปฏิบัติ ๓.ประชาชนมีความสนใจในการดูแลสุขภาพและตระหนักในการตรวจสุขภาพและการออกกำลังกายมากขึ้น เป็นผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
๔.ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมการตรวจสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2561 14:10 น.