กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมพลังเยาวชนต้านภัยยาเสพติด ชมรมเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 61-L7250-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 52,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสนาะกลิ่นบุปผา ประธานชมรมเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 165 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติด ชมรมเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสงขลา เป็นองค์กรภาคประชาชนที่อยู่ในชุมชนได้ตระหนักถึงโทษของยาเสพติดเด็กและเยาวชน จึงเป็นเป้าหมายหลักของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตนเอง สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน เพื่อจะสามารถร่วมมือผู้นำชุมชนปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัญหายาเสพติด ดังนั้น ชมรมเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสงขลา เห็นความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการค่ายเยาวชนต้านยาเสพติดขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนผู้นำชุมชน ให้ตระหนักถึงโทษของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเด็กและเยาวชนในชุมชนให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นชมรมเครือข่ายชุมชนเทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการค่ายเยาวชนต้านยาเสพติดให้แก่ชุมชนและครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการฯขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้เด็กเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

1.  เชิงปริมาณ   ผู้เข้าร่วมโครงการฯจำนวน  165  คน

0.00
2 2.เพื่อสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด

2.  เชิงคุณภาพ - ติดตามผลความเปลี่ยนแปลงหลังจากสิ้นสุดโครงการ  ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี             ขึ้นหรือไม่หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ  80
- เกิดสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็ก เยาวชน ครอบครัว ผู้นำชุมชนไปในทางที่ดี ร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาเด็กเยาวชน ผู้นำเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองให้สามารถป้องกันตนเองไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

3.  เชิงเวลา   โครงการดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ร้อยละ  90

0.00
4 4.เพื่อให้เด็กเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด 5.เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง เด็กเยาวชนรู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งที่ดี มีประโยชน์ กล้าพูดปฏิเสธ เพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี 6.เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 7.เพื่อให้เด็กเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุผล 8.เพื่อให้เด็กเยาวชน รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม

4.  เชิงค่าใช้จ่าย  โครงการดำเนินการโดยใช้งบประมาณตามที่ประมาณการไว้ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ  90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
  2. ประสานภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและ ขอความร่วมมือในด้านต่างๆเช่น สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสงขลา
  3. ประสานผู้นำชุมชนในชุมชน เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานงานเรื่องสถานที่และจัดเตรียม/จัดหาวัสดุ-อุปกรณ์สำหรับในการดำเนินงาน
  5. ดำเนินการตามโครงการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 5.1การบรรยาย

- หัวข้อ โทษและพิษภัยของยาเสพติด - หัวข้อ เทคนิคการปฎิเสธ และการแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยเหตุและผล 5.2คัดเลือกแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อประสานงานกับผู้นำชุมชน
5.3กิจกรรมฐานการเรียนรู้ เพื่อหลีกเลี่ยงความอยากรู้อยากลอง การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
5.4 วิทยากรสรุปจากการเรียนรู้ฐานต่าง ๆ
6.สรุปและรายงานผลต่อแหล่งทุนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง มีภูมิคุ้มกันนาเสพติด และ ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด 2.มีเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด 3.เด็กเยาวชนผู้นำชุมชน ผู้ปกครองสามารถป้องกันตนเองไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 4.เพื่อให้เด็กเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด 5.ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง เด็กเยาวชนรู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งที่ดี มีประโยชน์ กล้าพูดปฏิเสธ เพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี 6.เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 7.เด็กเยาวชน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุผล 8.เด็กเยาวชน รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่และประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2561 14:54 น.