กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ต้านภัยโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ 61-L5300-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 9,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอำละ สุภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
6.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ลักษณะหมู่บ้านมีถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตและถนนลูกรังเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านสลับกันในแต่ละชุมชน โดยชุมชนหลังโรงยาง เป็นชุมชนที่มีการเชื่อมต่อของถนนลูกรัง สลับกับถนนคอนกรีต และในบางพื้นที่ต้องอาศัยเรือหางยาวเป็นพาหนะในการเดินทาง เนื่องจากมีลำคลองน้ำเวียนเป็นลำคลองที่กั้นผ่านระหว่างพื้นที่ของชุมชนหลังโรงยาง และมีป่าชายเลนอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ โดยบ้านผู้ป่วย (Index case) อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลนด้วย โดยการตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายตามเส้นถนนลูกรังและถนนคอนกรีตในชุมชน ระยะทางจากชุมชนคลองน้ำเวียนถึง รพ.สตูล ระยะทางไกลสุดประมาณ 3 กิโลเมตร จากชุมชนหลังโรงยาง ถึง รพ.สตูล ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และจากชุมชนหลังโรงยางถึง รพ.สต.คลองขุด (สาขา) ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร และระยะทางจากรพ.สต.ไปยังหมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ไกลที่สุดประมาณ 8 กม. จึงมีประชาชนบางส่วนเข้ารับบริการที่ รพ.สตูล คลินิกและหรือหน่วยบริการปฐมภูมิที่ใกล้บ้าน ได้แก่ PCU พิมาน และ PCU ศรีพิมาน มีจำนวนหลังคาเรือน 408 หลังคาเรือน ประชากรรวม 1,441 คน ประชากรเพศชาย 717 คน เพศหญิง 724 คน จากการสำรวจพื้นที่ชุมชนหลังโรงยางมีจำนวนหลังคาเรือน 102 หลังคาเรือน ประชากร 426 คน แม้ว่าในปี 2560 ไม่มีการระบาดด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 3 แต่ก็เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับพื้นที่เทศบาลเมืองสตูลซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออก กลุ่มอาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ต้านภัยโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเลือดออกในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

6.00 4.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

16 มิ.ย. 61 ประชุมเตรียมความพร้อมอาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด 1,250.00 -
14 - 28 ก.ค. 61 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก 8,330.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
  2. ประชุมเตรียมความพร้อมอาสาพัฒนาสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด จำนวน 37คน
  3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดำเนินโครงการ
  4. แกนนำสาธารณสุข (อสพส.หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก) ลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย ค่า HI,CI (แจกและแนะนำการใช้ทรายทีมีฟอส), รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยการคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง เป็นต้น
  5. ปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือบริเวณที่มีการสะสมของภาชนะที่น้ำสามารถขังได้
  6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก
  7. สรุปและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต - ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ได้รับการกระตุ้นให้มีการตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก จำนวน 1,200 หลังคาเรือน

ผลลัพธ์ ๑. อัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๒. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน และประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
๓. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) อยู่ในเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 13:46 น.