กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสมาร์ทคิทส์เทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 1 ตุลาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 178,954.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวรอซีดะห์กรูตามา
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยาเอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากช่วงวัยต้นของชีวิต คือ เด็ก 0–5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ดังนั้นเพื่อให้เด็กวัย 0–5 ปีมีสุขภาพดีนั้น ควรได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมและครอบคลุมทั้ง 4 ด้านได้แก่ การเจริญเติบโตสมส่วนตามวัย พัฒนาการด้านสมองตามวัย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันไม่ให้มีฟันผุ และรับวัคซีนครบตามกำหนด จากการการสำรวจพบว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอม และ เด็กเตี้ยสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย เรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟังและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจากผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2560 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 65.34 ,งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 54.55 ,งานส่งเสริมพัฒนาการพบว่ามีเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 18.6 และการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็กพบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ปี มีฟันผุ ร้อยละ 66.38 (ข้อมูลจาก HDC) จากรายงานแม้ขนาดของปัญหาลดลง แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับภาคและระดับประเทศ จึงทำให้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเทศบาลเมืองปัตตานี เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กแบบองค์รวมให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ เพื่อให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่ผู้ปกครอง และส่งเสริมพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน และวัคซีน เพื่อสร้างเด็กให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด้ก0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม

1.พัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90 ของเด็ก 91830และ42 เดือนได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการติดตาม/ส่งเสริม/กระตุ้น/ภภายใน 1 เดือน

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีสุขภาพที่ดีครอบลุมทั้ง 4 ด้าน(พัฒนาการสมควร โภชนาการสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันดี ไม่ผุ

2.โภชนการสมส่วนร้อยภูมิคุ้มกันที่ดีร้อยละละ 54

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชนที่กี่ยวข้อง

3.ภูมิคุ้มกันที่ดีร้อยละ54 4.ฟันดีไม่ผุร้อยละ ุ60

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 247.00 0 0.00
27 เม.ย. 61 (ประชุมชี้แจงโครงการและอบรม อสม.) 0 38.00 -
27 เม.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองสู่หนูน้อยสมาร์ทคิดส์) 0 132.00 -
27 เม.ย. 61 (การประกวดหนูน้อยสมาร์ทคิดส์) 0 77.00 -

กิจกรรมที่ 1 - ประชุมชี้แจง โครงการหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ เทศบาลเมืองปัตตานี (3 ตำบล) แก่คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง อสม.และพี่เลี้ยงชุมชน ทั้งหมด 206 คน
- อบรมเชิงปฏิบัติการอสม. สู่หนูน้อยสมาร์ทคิดส์ จำนวน2 รุ่น เพื่อให้ อสม.รู้จักเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กแต่ละช่วงวัยในเขตรับผิดชอบของตนเอง - แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานหนูน้อยสมาร์ทคิดส์เทศบาลเมืองปัตตานี
- ประสานเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการผ่านเวทีการประชุม อสม. และหอกระจายเสียงชุมชน
กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองสู่หนูน้อยสมาร์ทคิดส์ จำนวน 1 วันต่อตำบล (3 ตำบล) เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กแต่ละช่วงวัย มีสุขภาพดี ทั้ง 4 ด้าน ( คือพัฒนาการสมวัย, โภชนาการสมส่วน, ภูมิคุ้มกันที่ดี (วัคซีนครบ) ,ฟันดี ไม่ผุ ) ซึ่งจัดแบ่งเป็น 4 ฐานดังนี้
ฐานที่ 1 : มาฟังทางนี้......พัฒนาการสมวัย (ส่งเสริมทักษะ กิน กอด นอน เล่น เล่า ) ฐานที่ 2 : สูงดีสมส่วนเพราะโภชนาการดี (สาธิตเมนูอาหารตามวัยถูกหลักโภชนาการ)
ฐานที่ 3 : หนูน้อยฟันสวย ยิ้มใส (ตรวจฟันและเคลือบฟลูโอไรด์, สาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันในเด็ก)
ฐานที่ 4 : วัคซีน…ลูกน้อยสุขภาพดี (ตรวจสมุดสีชมพูและฉีดวัคซีนพร้อมติดสติ๊กเกอร์รูปดาว) กิจกรรมที่ 3 -กิจกรรมหนูน้อยสมาร์ทคิดส์ จัดประกวดให้รางวัลเด็กที่มีสุขภาพดี 4 ด้าน (พัฒนาการสมวัย, โภชนาการสมส่วน, ภูมิคุ้มกันดี (วัคซีนครบ) ,ฟันดีตามเงื่อนไขการรับรางวัล ได้นี้
1. มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ (ตามวันนัดฉีดยา) ฟันสวย ไม่ผุ
2. ผู้ปกครองผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 3. กรณีที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องผ่านการอบรม แต่ต้องผ่านเงื่อนไขการประกวดทั้ง 4 ด้าน - รณรงค์ติดตามกลุ่มเป้าหมายในคลินิกเด็กดีของแต่ละสถานบริการและชุมชน สำหรับเด็กที่มีสุขภาพดีทั้ง 4 ด้าน ให้ได้รับรางวัลและตามเงื่อนไขที่ได้วางไว้ และบริการทาฟลูออไรด์ ทุกๆ 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้ปกครองทราบและสามารถดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
  • เด็กอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
  • เครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี อย่างเป็นองค์รวม และครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 13:50 น.