กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย......
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักการช่างเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 489,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิจิตร ด้วงอินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางกัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลเมืองปัตตานีมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนที่ถูกหลักสุขาภิบาลจำนวน 1 แห่ง เริ่มดำเนินการเมื่อพ.ศ.2545 มีหลุมฝังกลบขยะมูลฝอย จำนวน 4 บ่อ ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ห่างจากเขตเทศบาล 20 กิโลเมตร ห่างจากถนนสายหลัก 6 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 183 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเทศบาลเอง บริเวณรอบ ๆ มีการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม โดยมีแหล่งน้ำสาธารณะที่ใกล้ที่สุด คือ คลองตันหยง (คลองยามู) ซึ่งห่างเพียง 30 เมตร และห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ดำเนินการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยเอง โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยจากครัวเรือนในอัตราครัวเรือนละ 20 บาทต่อเดือน ซึ่งเทศบาลได้ออกเทศบัญญัติเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย และมีการเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นและหน่วยงานต่างๆ ที่นำขยะมูลฝอยมาร่วมกำจัดในอัตราตันละ 520 บาททั้งนี้ ในการดำเนินงาน เทศบาลเมืองปัตตานีมีบุคลากรประจำระบบกำจัดขยะมูลฝอยเป็นพนักงานจ้าง จำนวน 5 คน แต่บุคลากรยังขาดความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล
ปัจจุบันมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้นสืบเนื่องมาจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของบ้านเมืองที่ กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยมีมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหามลพิษจากขยะ ปัญหาไฟไหม้บ่อขยะ น้ำจากบ่อขยะไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง หลุมฝังกลบขยะมูลฝอย จำนวน 4 บ่อ ได้ปิดการใช้งานไปแล้ว 2 บ่อ เนื่องจากฝังกลบขยะเต็มพื้นที่ ดำเนินการฝังกลบขยะในบ่อที่ 3 ซึ่งใกล้จะเต็มพื้นที่ ส่วนบ่อที่ 4 ยังไม่เปิดใช้งาน ปริมาณขยะมูลฝอยที่รองรับได้ประมาณวันละ 109 ตัน เป็นขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีประมาณ 50 ตัน/วัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียงและหน่วยงานราชการประมาณวันละ 59 ตัน ระบบบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอยเป็นบ่อปรับเสถียร จำนวน 5 บ่อ สามารถใช้งานได้ทุกบ่อ จากการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอยในบ่อน้ำเข้าและบ่อน้ำออกจากระบบยังอยู่ในค่ามาตรฐานควบคุม ค่าบีโอดี มีค่าเกินมาตรฐานกำหนด น้ำใต้ดินมีค่าแมงกานีส เกือบเกินมาตรฐาน มีการร้องเรียนเรื่องกลิ่นรบกวนจากการดำเนินงานบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยบ้างเป็นครั้งคราว มีมาตรการในการควบคุมผู้คุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะ แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด ขาดการควบคุมป้องกัน บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยน้อย มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการและนำมาปรับปรุงแผนดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงานในบ่อขยะไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่มีการป้องกันสุขภาวะตนเองอาจก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อโรคจากบ่อขยะได้ง่าย
เทศบาลเมืองปัตตานีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะผ่านกิจกรรรม ธนาคารขยะสะสมทรัพย์ กิจกรรมขยะแลกค่าธรรมเนียมสำหรับร้านค้าผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมขยะอันตรายและต้นมะกรูดหรือพืชผักสวนครัว การจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน การคัดแยกขยะในชุมชนตลาดเทศวิวัฒน์ ชุมชนมะกรูด และชุมชนอื่น ๆ รวม 19 ชุมชนโดยมีแผนการลงพัฒนาชุมชนของกองสาธารณสุขในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ และสร้างแรงจูงใจให้ลดใช้ถุงพลาสติกโดยมีกิจกรรมร่วมกับตลาดมะกรูด กิจกรรมลดถุงพลาสติกแลกแต้ม
-2-

สะสมไว้แลกของรางวัลเช่นถุงผ้า ปิ่นโต ขวดน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ เทศบาลเมืองปัตตานีได้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเปลี่ยนภาชนะบรรจุอาหารจากประเภทโฟมเป็นภาชนะที่ย่อยสลายได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถลดปริมาณกล่องโฟมได้เป็นจำนวนมาก จากเหตุผลข้างต้น งานส่วนช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขึ้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกวิธี ถูกสุขลักษณะสามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองในการปฏิบัติงานและสามารถควบคุมป้องกันผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น กลิ่นเหม็น น้ำเสีย ฯลฯ จากการถูกร้องเรียนได้อย่างถูกวิธี
สารชีวบำบัด(ไบโอออร์แกนิค) คีนเอฟ.โอ.จี คลีนเนอร์ คือ ใช้ทำความสะอาดและกำจัดกลิ่น อเนกประสงค์สารย่อยสลายสิ่งสกปรก จำกัดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากขยะ ไขมันและสิ่งปฏิกูล ล้างสลายคราบน้ำมัน จารบี ไขมันบนพื้นผิว ประกอบด้วยจุลินทรีย์ย่อยน้ำมันโดยเฉพาะเอนไซม์และสารสกัดจากพืช (สารเร่งย่อยสลายชีวภาพ) มีฤทธิ์เป็นกลางใกล้เคียงกับน้ำ ไม่กัดกร่อนพื้นผิว และไม่ติดไฟ ลดปัญหาแมลงวัน กลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นที่เกิดจากาการสะสมของไขมัน สามารถขจัดคราบสกปรก คราบน้ำมัน ไขมัน และสารอินทรีย์ ที่สะสมในท่อระบายน้ำ บ่อเกรอะ บ่อดักไขมัน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียขจัด-บำบัด-และเยียวยา ในขั้นตอนเดียว สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะ สามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองได้

ร้อยละ 80 ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถควบคุมป้องกันสุขภาวะของตนเองได้

0.00
3 3.เพื่อให้สถานที่กำจัดขยะ มีมาตรฐานและเป็นต้นแบบในการกำจัดขยะมูลฝอย

ร้อยละ80 ของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานเรื่องผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบของท้องถิ่น จากการตรวจประเมินจากสิ่งแวดล้อมภาคที่16

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00 0.00
2 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 โครงการป้องกันมลภาวะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย 9.1.1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน เดือนเมษายน 2561จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย(บ่อขยะหนองแรต) เรื่องการจัดการขยะ 0 0.00 - -
12 เม.ย. 61 ทดลองใช้สารชีวบำบัด(ไบโอออร์แกนิค) ในบ่อขยะบ่อบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอย 0 0.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
3.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย(บ่อขยะหนองแรต) เรื่องการจัดการขยะ ที่ถูกวิธี การแต่งกายของผู้ปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะป้องกันการติดเชื้อจากกองขยะและให้ความรู้เรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ สารชีวบำบัดภัณฑ์ มาย่อยสลายชีวภาพในสถานที่กำจัดขยะ (ร่วมโครงการกับกองสาธารณสุขฯ) 3.3 ตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานทุก ๆ 2 เดือน (ร่วมโครงการกับกองสาธารณสุขฯ) 3.3 จัดซื้อสารชีวบำบัดภัณฑ์ (ไบโอออร์แกนิค) คีนเอฟ.โอ.จี คลีนเนอร์ สารสกัดจากพืช สารเร่งย่อยสลายชีวภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.4 ทดลองใช้สารชีวบำบัด (ไบโอออร์แกนิค)คีนเอฟ.โอ.จี คลีนเนอร์ ในบ่อขยะ บ่อบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอย 3.5 ติดตามการดำเนินงาน 3.6 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย มีความรู้ เข้าใจ ในการบริหารจัดการขยะมูลเพิ่มมากขึ้น
  2. ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะ
  3. ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ของเทศบาลเมืองปัตตานี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 16:01 น.