โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะชุมชนคลองช้าง
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะชุมชนคลองช้าง |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนคลองช้าง เทศบาลเมืองปัตตานี.. |
วันที่อนุมัติ | 29 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 35,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอิสเฮาะบูละ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นากัลยา เอี่ยวสกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ พบว่าปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี โดยในปี 2556 มีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 2 ล้านตันและในปี 2557 มีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนประมาณ 26.19 ล้านตัน ซึ่งขยะที่ได้เก็บขนและนำไปกำจัดโดย อปท.จำนวน 4,422 แห่ง พบว่ามีขยะร้อยละ 75 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศเป็นขยะมูลฝอยที่ถูกนำไปกำจัดยังสถานที่ที่ถูกต้องประมาณ 7.88 ล้านต้น (ร้อยละ 53.2) และปริมาณขยะอีกประมาณ 6.93 ล้านตัน (ร้อยละ 46.8) ถูกนำไปกำจัดยังสถานที่กำจัดขยะที่ไม่ถูกต้อง ขณะเดียวกันในพื้นที่อีก 3,355 แห่ง ไม่มีการให้บริการเก็บขนขยะประชาชนจะดำเนินการกำจัดขยะในครัวเรือนเอง โดยการเทกอง เผาในที่โล่ง และลักลอบทิ้งในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีจำนวนขยะคิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มีปริมาณลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีการดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยลดลง และเมื่อพิจารณาอัตราการผลิตขยะต่อคนต่อวัน ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 มีอัตราการผลิตขยะต่อคนเท่ากับ 0.3 กก/คน/วัน แต่ในปี 2557 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 1.11 กิโลกรัม/คน/วัน แสดงให้เห็นถึงการขาดความตระหนัก ความเข้าใจ และความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนคลองช้าง
จากการสำรวจปัญหาขยะในชุมชนคลองช้าง ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 579 ครัวเรือน มี
ประชากรทั้งหมด 1,954 คน มีอาณาเขตตั้งแต่ ถนนปัตตานีภิรมย์ แยกเข้าถนนโรงเรียนเทศบาล 6 ถนนเจริญนคร ตรอกสะพานยาว ถนนนาเกลือ ซอย7
ทิศเหนือ จดอบต.บานา
ทิศใต้จดชุมชนหัวตลาด
ทิศตะวันออก จดชุมชนหัวตลาด
ทิศตะวันตก จดแม่น้ำปัตตานี
ลักษณะทั่วไปของชุมชน เป็นชุมชนที่ตั้งติดกับแม่น้ำปัตตานี บ้านอยู่อาศัยล้อมรอบติดกับชุมชน ใกล้เคียง มีแรงงานต่างด้าวอยู่อาศัยเนื่องจาก เป็นที่จอดเรือของผู้ประกอบการธุรกิจประมงหลายบริษัท การดำเนินชีวิตส่วนใหญ่เป็นร้านค้า โรงกลึง และประมง จะพบปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยเป็นส่วนมากทำให้มีการบริโภค อุปโภค และกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขยะต่าง ๆ เหล่านี้ประชาชนจะทิ้งรวมในถังขยะ ทิ้งในแม่น้ำ ไม่มีการคัดแยกขยะ ในชุมชนมีถังขยะเทศบาลจำนวน 11 ใบ ตั้งอยู่ในบริเวณป้ายชุมชน ถนนเจริญนคร ถนนโรงเรียนเทศบาล 6ถนนปัตตานีภิรมย์ใกล้มัสยิด ถ.นาเกลือ ซอย 7 และตรอกสะพานยาว ในถังขยะสามารถแยกตามประเภทของขยะได้ดังนี้ ขยะรีไซเคิล 45% ขยะอินทรีย์ 30 % ขยะทั่วไป 20% ขยะอันตราย 5% ส่งผลให้เกิดความสกปรกไม่เป็นระเบียบ แหล่งเพาะพันธุ์ เชื้อโรค มีสารพิษปนเปื้อนลงที่ดินและน้ำ ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะต่อประชาชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ ร้อยละ ๕0 ของประชาชนในชุมชน |
0.00 | |
2 | เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยกขยะ การนำกลับมาใช้ใหม่ ร้อยละ 30 ของประชาชนในชุมชน มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ |
0.00 | |
3 | เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ ร้อยละ 80 ของครัวเรือนในชุมชนรับทราบการประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 | |
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | ประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรม | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 มี.ค. 61 - 30 มิ.ย. 61 | จัดทำกิจกรรม “ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์” | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 61 | จัดทำกิจกรรม ขยะแลกเงิน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมชี้แจงแกนนำชุมชนเพื่อจัดทำโครงการ
- แต่งตั้งคณะทำงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการ
- รับสมัครสมาชิก/จัดตั้งธนาคารขยะ/หมักขยะอินทรีย์ทำปุ๋ย
- จัดกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
- จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะตามหลัก 3R และให้ความรู้เรื่องการจัดทำธนาคารขยะแก่คณะทำงานและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมที่ 2. กิจกรรม “ขยะแลกเงิน”
- คัดแยกขยะและรับซื้อขยะรีไซเคิล
กิจกรรมที่ 2. กิจกรรมทำ “ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์”
- ทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ โดยจัดทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมัก
6. ประเมินผลการดำเนินงาน
- ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
- ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน
- มีแกนนำในการจัดการขยะในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 16:01 น.