กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อย ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2482-1-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 12 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮายาตี นาปี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภค โดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกส์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะไม่สะอาด ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้นหากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัย ของอาหารจึงควรทำแต่เนิ่นๆที่สุดคือวัยเด็ก วัยที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร้วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ถึงแม้ว่าเด็กที่เติบโตขึ้นจะเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน ทางรพ.สต.บ้านโคกมือบา เล็งเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆของคนหากเริ่มต้นได้ตั้งแต่เด็ก จะส่งผลถึงภาวะสุขภาพในระยะยาว เพราะโรคเรื่อรังหลายๆโรค เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง สะสมมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี จึงส่งผลให้ป่วยด้วยโรคต่างๆเมื่ออายุเยอะขึ้น รพ.สต.บ้านโคกมือบาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง

นักเรียนสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย

80.00
2 ผู้ประกอบอาหารของครูอนามัยโรงเรียนสามารถเลือกวัตถุดิบในการประกอบให้กับเด็กนักเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

วัตถุดิบของโรงครัวในโรงเรียนถูกต้องตามหลักของงานคุ้มครองผู้บริโภค

100.00
3 เพื่อผู้บริโภคอาหารโรงเรียนมีความปลอดภัยจากการบริโภค

ผู้บริโภคไม่เจ็บป่วยด้วยสาเหตุการบริโภคอาหารของโรงเรียน

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 10,000.00
3 ส.ค. 61 ให้ความรู้แก่นักเรียน/ผู้ประกอบอาหาร/ครูอนามัยโรงเรียน (ร.ร.บ้านปะลุกาและร.ร.บ้านโคกมือบา) 0 0.00 10,000.00
  1. ผู้รับผิดชอบงานวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนและสอบถามปัญหา/ปรึกษาครูอนามัยโรงเรียน
  2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโฆษิต
  3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานประสานผู้อำนวยของโรงเรียนทราบปัญหาที่เกียวข้องกับเด็กนักเรียน
  4. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียน และผู้ประกอบอาหารเรื่องอาหารที่มีความปลอดภัยควรบริโภคในโรงเรียน
  5. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง
  2. นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแนะนำผู้อื่นต่อไป
  3. ผู้ประกอบอาหารของ/ครูอนามัยโรงเรียนสามารถเลือกวุตถุดิบในการประกอบอาหารให้กับเด็กนักเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 16:01 น.