กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดยะลา ปี 2560
ภายใต้โครงการ ชุดโครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล โดยพี่เลี้ยง สปสช. เขต12
รหัสโครงการ 60-FW-95000
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมพี่เลี้ยงประจำกองทุนสุขภาพตำบลจังหวัดยะลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวิทย์ หมาดอะดำ และทีมพี่เลี้ยงจังหวัดยะลา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ม.ค. 2560 20 เม.ย. 2560 10,500.00
2 21 เม.ย. 2560 27 ก.ค. 2560 49,000.00
3 28 ก.ค. 2560 29 ก.ย. 2560 10,500.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลามีจำนวน 617 แห่งข้อมูลจากระบบบริหารจัดการกองทุนผ่านเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้ www.localfund.happynetwork.org พบว่า มีเงินคงเหลือสะสมจากหลายปีที่ผ่านมา จำนวน 385 ล้านบาทและจะมีเงินจัดสรรจาก สปสช.ตามข้อกำหนด 45 บาท/หัวประชากร จำนวน 218 ล้านบาท และเงินสมทบตามขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 30-60อีก 116 ล้านบาท รวมแล้วจะมีเงินสำหรับดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพผ่านกองทุนสุขภาพตำบล ไม่ตำกว่า 724 ล้านบาท ส่วนหนึ่ง พบว่า เนื่องจากการตรวจสอบที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นของหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินกองทุน ฯ แต่สาเหตุสำคัญ คือ การขาดการวางแผนเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ขาดแผนงานและโครงการ ตลอดจนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ แบบเชิงรุก เป็นต้น
ผู้บริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดนโยบายสำคัญ คือ การบริหารเงินกองทุนที่สะสมในกองทุนให้คงเหลือไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือทั้งหมด ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา จึงถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ที่ผ่านมาทาง สปสช. เขต 12 สงขลา ดำเนินการดังนี้ 1)การจัดทำแผนสุขภาพระดับเขตแก่กองทุนสุขภาพตำบลที่เงินคงเหลือเกิน 2 ล้านบาท เพื่อให้สามารถนำเงินกองทุนสุขภาพตำบลไปใช้ในการแก้ไขปัหาสุขภาพที่เป็นปัญหาร่วมกัน อันประกอบด้วย ประเด็นโรคเรื้อรัง และโรคติดต่อ ประเด็นแม่ตั้งครรภ์และเด็กแรกคลอด ประเด็นภาวะโภชนาการเด็ก ประเด็นอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในชุมชน ประเด็นสารเสพติด บุหรี่ ยา 4X100 ประเด็นการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 2)การจัดอบรมและพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง(Coaching Team) เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนงานและโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล 3)การจัดทำระบบโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล www.localfund.happynetwork.orgเพื่อใช้สนับสนุนการบริหารกองทุนและช่วยติดตามการดำเนินงานกองทุนสุขภาพ 4)การลงติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลของทีมพี่เลี้ยง (Coaching Team)

ดังนั้น เพื่อการสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนฯ ที่มีประสิทธิภาพโดยทีมพี่เลี้ยง ทาง สปสช.เขต 12 สงขลาจึงจัดทำโครงการเสริมพลังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ระดับเขต 12 สงขลา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ทีมพี่เลี้ยง (Coaching Team) ลงสนับสนุนการทำงานของกองทุนฯ ติดตามการทำงานและให้กองทุนฯรายงานผลโครงการผ่านโปรแกรมระบบบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลแบบออนไลน์
  1. เกิดทีมพี่เลี้ยงจังหวัดยะลา จำนวน 14คน
  2. เกิดแผนทำงานลงสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลเกี่ยวกับการปรับแผนงานและโครงการด้านสุขภาพภายในจังหวัดยะลา จำนวน 63 แห่ง
  3. กองทุนสุขภาพตำบลในจังหวัดยะลาป้อนข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน การเงิน โครงการที่ถุกต้อง และบันทึกการทำกิจกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกองทุนในความรับผิดชอบ
2 เพื่อให้กองทุนสุขภาพตำบลในจังหวัดยะลามีการบริหารที่มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส
  1. กองทุนสุขภาพตำบลจำนวน63แห่ง มีแผนดำเนินงานและโครงการด้านการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชน
  2. กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารเงินคงเหลือจนสามารถใช้จ่ายในการดำเนินโครงการไม่น้อยกว่า 75 %
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 1 จัดตั้งทีมพี่เลี้ยงประจำจังหวัดๆละ 10 คนและแบ่งหน้าที่ จับคู่ระหว่างกองทุนฯกับพี่เลี้ยง
ขั้นตอนที่ 2 ประชุมพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงประจำจังหวัดว่าด้วยการสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่เขต 12 สงขลา
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำร่างกรอบการจ้างทำของ (TOR) เพื่อเสริมพลังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
ขั้นตอนที่ 4 การลงพื้นที่เสริมพลังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
ขั้นตอนที่ 5 สรุปรายงานการลงพื้นที่เสริมพลังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ผ่านเว็บไซต์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ได้รับการเสริมพลังจากทีมพี่เลี้ยง อย่างน้อยกองทุนละ 1 ครั้ง
  2. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถจัดทำโครงการฯเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ และสามารถลงข้อมูลในโปรแกรมระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ www.localfund.happynetwork.org
  3. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถใช้ในการดำเนินโครงการจนไม่เกินร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2560 11:38 น.