กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ภัยเงียบอันตราย ค้นหามะเร็งปากมดลูกรายใหม่โดยเร็ว ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2482-1-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 12 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮายาตี นาปี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ แต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,๐๐๐ ราย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก ๗ คนเป็น ๑๔ คน ต่อวัน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทเพราะคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไร? แต่ในความเป็นจริงผู้หญิงทุกคนเคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม จากสถิติรายงานว่า ๓๐ % ของผู้หญิงไทยไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปบสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย ข่าวดีก็คืิอมะเร็งปากมดลูก สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ก่อนจะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม (ข้อมูลจากสถาบันเซลล์ วิทยา ๑๗ พ.ย.๒๕๖๐) จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขปี ๒๕๖๐ เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๖.๔๕พบผู้ป่วยใหม่จำนวน ๕ คน จังหวัดยะลา คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ๕.๗๖พบผู้ป่วยใหม่จำนวน ๑๒ คน จังหวัดนราธิวาสคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๕.๙พบผู้ป่วยใหม่จำนวน ๓ คน เป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือสตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปีที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในรอบ ๕ ปี ร้อยละ ๒๐ จากผลการดำเนินงานของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ข้างต้นสามารถดำเนินการได้น้อยมาก ซึ่งไม่ต่างจากอำเภอตากใบที่ดำเนินการได้ร้อยละ ๑๐.๒๘ และไม่ต่างจากรพ.สต.บ้านโคกมือบาที่ดำเนินการได้เพียงร้อยละ ๑๒.๖๘ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและป้องกันโรคให้กับประชาชน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค ตลอดจนทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตำบลโฆษิตขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 -60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมามีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 - 60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา เข้าร่วมอบรม

100.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

90.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องต้น

สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ในเบื้องต้น

90.00
4 เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งแพทย์และรับการรักษาที่ถูกต้อง

สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับส่งพบแพทย์

100.00
5 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรง

อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรงไม่เกิน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 10,000.00
3 ส.ค. 61 ให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 0 0.00 10,000.00
  1. สำรวจและจัดทำระเบียนข้อมูลสตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน ๕ ปีที่ผ่านมา
  2. สำรวจและจัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่อาศัยอยูู่ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านโคกมือบา จริงปรียบเที่ยบกับคลังข้อมูล HDC เพื่อจัดทำทะเบียนสตรีอายุ30-60 ปีที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ที่ผ่านมา
  3. ผอ.รพ.สต.มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานหลัก สำหรับดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30 -60 ปี
  4. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม. เพื่อชี้แจง แผนการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30 -60ปี ประจำปี 2561
  5. จัดทำโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพต.โฆษิต เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
  6. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา
  7. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปีที่ผ่านมา ร่วมรับบริการตรวจคัดกรองมะเร้งปากมดลูก
  8. จัดกิจกรรมสาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีอายุ 30 - 70 ปี
  9. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวน สตรีอายุ 30 - 70 ปีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
  10. รพ.สต.บริการประสานและส่งต่อ สตรีที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปรับการตรวจ และรักษาต่อตามลำดับขั้นตอนการรับบริการ
  11. สรุปและติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน และสรุปผลเมื่อสิ้นเดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนด้วยตนเองได้
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์กำหนด
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเมื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะรุนแรงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 16:18 น.