กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ฟื้นฟูความรู้และทักษะการปฏิบัติงานของ อสม.ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2482-1-012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกมือบา
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 12 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 6,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดาราวัลย์ บั้นบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮายาตี นาปี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 6,750.00
รวมงบประมาณ 6,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทัั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคของประเทศไทยได้เปล่ี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคประจำถิ่นที่ยากต่อการควบคุม เช่น โรคไข้เลือดออก และที่สำคัญยังมีโรคเรื้อรังที่อันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งโรคต่างๆล้วนสร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ตำบลโฆษิต มีสภาพปัญหาไม่ต่างจากที่อื่น คือประชาชนในพื้นที่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ส่งผลให้เกิดให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงประชาชนในพื้นที่ส่วนใหย่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยความเชื่อ ส่งผลต่อการคัดกรองโรคบางโรค เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน เน้นการสร้างสุขภาพและป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันอาสาสมัครสาธารณสุขขาดความมั่นใจ ขาดทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ๆในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขประกอบกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ได้มี อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ใหม่ หลายท่านที่ไม่เคยได้รับการอบรม การเพิ่มพูนองค์ความรู้ต่างๆจึงส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่เพียงพอ การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้และทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกมือบา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขขึ้นมา อันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของอสม. ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป

อสม.ทราบในบทบาทหน้าที่การดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป

0.00
2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของอสม.ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

อสม.มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสามารถปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

0.00
3 เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน

ผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังโดยอสม.

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 เม.ย. 61 - 29 ส.ค. 61 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่อสม. 30 6,750.00 6,750.00
รวม 30 6,750.00 1 6,750.00
  1. ประเมินความรู้พื้นฐานของอสม.งานต่างๆดังนี้
    • การเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้เลือดออก
    • บทบาทหน้าที่ อสม.เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
    • การดูแลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
    • การประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด- 72 ปี
    • เกณฑ์การประเมิน และคำแนะนำ ร้านชำมาตรฐาน
    • การเขียนบันทึกการเยี่ยมบ้าน
    • งานอาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม
    • งานส่งเสริมสุขภาพ
    • การป้องกันเอดส์ในชุมชน
  2. ประชุมพูดคุยชี้แจงปัญหาจากการปฏิบัติงานของอสม.พร้อมทั้งรับฟังปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน
  3. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.โฆษิต
  4. จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่อสม. งานต่างๆดังนี้
    • การเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้เลือดออก
    • บทบาทหน้าที่ อสม.เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
    • การดูแลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
    • การประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด- 72 ปี
    • เกณฑ์การประเมิน และคำแนะนำ ร้านชำมาตรฐาน
    • การเขียนบันทึกการเยี่ยมบ้าน
    • งานอาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม
    • งานส่งเสริมสุขภาพ
    • การป้องกันเอดส์ในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน เรื่อง
    • การเฝ้าระวัง ป้องกันโรคไข้เลือดออก
    • บทบาทหน้าที่ อสม.เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
    • การดูแลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
    • การประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด- 72 ปี
    • เกณฑ์การประเมิน และคำแนะนำ ร้านชำมาตรฐาน
    • การเขียนบันทึกการเยี่ยมบ้าน
    • งานอาชีวอนามัย และอนามัยสิ่งแวดล้อม
    • งานส่งเสริมสุขภาพ
    • การป้องกันเอดส์ในชุมชน
  2. อสม.ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
  3. ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขภาพ ที่มีคุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 16:27 น.