กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 61-L3348-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.ในนิคมฯบ้านลานข่อย
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุณี อินทร์ศวร
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยังให้ความสำคัญกับการบริโภคที่ไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนว่า“ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ 5อันดับแรกคือโรคหัวใจความดันโลหิตสูงเบาหวานมะเร็งและหลอดเลือดในสมองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสาธารณสุข”เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมบริโภคปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็เป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ขาดการออกกำลังกายโดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้วไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมจะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้วซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้เช่นโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตกโรคไตวายและตาบอด มีข้อมูลยืนยันว่าโรคเหล่านี้เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆทั้งสุขภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติจะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้วซึ่งอาจเสียชีวิตฉับพลันหรือเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ โรคเบาหวานก็เช่นเดียวกันเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการโดยเฉพาะในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อหลายสิบปีก่อนและพฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดออกกำลังกายทำให้คนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยร้อยละ50 ไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมจึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90

1.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อควบคุมภาวะเสี่ยงต่อการเกิด

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของคนในชุมชน 

1.00
3 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ประชาชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,500.00 0 0.00
24 ก.พ. 61 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 35,500.00 -

1.ประชุม อสม.ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายร่วมประชุมหมู่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามจุดนัดใกล้บ้าน
2.จัดบริการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตในกลุ่มเป้าหมายร่วมกับแบบคัดกรอง
3.บริการตรวจคัดกรองซ้ำกับกลุ่มเสี่ยงหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ
4.ส่งตัวรักษาต่อกับกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองซ้ำซึ่งผลการตรวจคัดกรองยังเสี่ยง
5.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต 2.ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 3.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของคนในชุมชน
4.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตได้รับการคัดกรองซ้ำ
6.กลุ่มเลี่ยงที่ผลการตรวจคัดกรองเสี่ยงอีกได้รับการส่งตัวรักษาต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2561 13:46 น.