กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 61-L1485-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 15 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไรวรรณลีสุรพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านกลาง ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ ๑๐.๗ ในปี ๒๕๕๐ (๗.๐ ล้านคน) เป็นร้อยละ ๑๑.๘ (๗.๕ ล้านคน)ในปี ๒๕๕๓ และร้อยละ ๒๐.๐ (๑๔.๕ ล้านคน) ในปี ๒๕๖๘ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,๒๕๕๑)นับว่าอัตราการเข้าสู่ “ภาวะประชากรสูงอายุ (Population Ageing)” เร็วมาก ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีเวลาสั้นมากที่จะเตรียมการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสุขภาพเศรษฐกิจ และสังคม ผู้สูงอายุต้องการผู้ดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จากการตรวจสุขภาพโดยการตรวจร่างกายพบว่าผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ ๘๐ ปีขึ้นไป) ต้องมีคนดูแลบางเวลาร้อยละ ๕๒.๒ และต้องมีคนดูแลตลอดเวลา ร้อยละ ๑๐.๒ (เยาวรัตน์ปรปักษ์ขาม,๒๕๔๗) อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๐ พบว่า ร้อยละ ๖๙.๓ ของประชากรในกลุ่มอายุ ๖๐ - ๖๙ ปี เป็นโรคเรื้อรังและพบเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และเพิ่มขึ้นเป็น ๘๓.๓ ในกลุ่มที่มีอายุ ๙๐ ปีขึ้นไปจากสถานการณ์ดังกล่าว อันทำให้ผู้สูงอายุและผู้เตรียมสู่วัยสูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยมากและเร็วขึ้น สำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง มีจำนวน 557 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมร้อยละ ๙๕.๖๕ติดบ้าน ร้อยละ ๓.๑๐ และติดเตียงร้อยละ๑.๒๔
เนื่องจากในปัจจุบันโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากจากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้สูงอายุของรพ.สต.บ้านลำแคลงที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีทั้งหมด 156 คน แบ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูง 113 คน เป็นโรคเบาหวาน 43 คน ซึ่งผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ เช่น โรคไตวาย โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมีโอกาสเกิดภาวะทุพลภาพได้ง่าย ทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ที่อาจนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงได้ นอกจากผู้สูงอายุจะป่วยเป็นโรคเรื้อรังแล้วยังมีโรคข้อเข่าเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมตามสภาพร่างกายที่จะต้องได้รับการดูแลสร้างเสริมสุขภาพให้มีสุขภาพการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นรพ.สต.บ้านลำแคลงเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขปฐมภูมิชั้นแนวหน้าด้านการจัดการสุขภาพของอำเภอปะเหลียน โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อสุขภาวะที่ดีในการส่งเสริมชุมชนผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยวีถีความพอเพียงอยู่แล้ว การทำโครงการห่วงใยสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเชื่อมโยงบูรณาการงานชมรมสร้างสุขภาพในชุมชนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นอนึ่งการมีตัวแทนจัดบริการโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในครัวเรือนด้วยการแพทย์แผนไทยนี้จะเป็นการเสริมสร้างจริยธรรมและรักษาวัฒนธรรมไทยเป็นกระบวนการสร้างความรักเอาใจใส่ ดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนตลอดจนได้ทดแทนพระคุณบุพการรี ส่งเสริมสร้างวีถีครอบครัวอบอุ่นสังคมเข้มแข็งได้ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลตนเอง

 

0.00
2 ๒. เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตลดอาการชาในกลุ่มผู้สูงอายุ

 

0.00
3 ๓. เพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายด้วยวิธีการประคบสมุนไพร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมคณะทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลงเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ

๒.เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ

๓.ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ

๔.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุพร้อมญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ

๕.ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

๖.รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้มีความรู้และสามารถนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๒. ผู้สูงอายุในชุมชนได้รู้จักทำท่าบริหารเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตลดอาการชาได้

๓.ผู้สูงอายุในชุมชนสามารถลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายด้วยวิธีการประคบสมุนไพรได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 09:44 น.