กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมทันตสุภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลำภูรา
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 4,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุกรีย์ โตสุจริตธรรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและประเมินปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ (คน)
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากแนวคิดระบบบริการคุณภาพโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวที่ต้องพัฒนาคุณภาพการบริการสุขภาพพื้นฐานในงานอนามัยแม่และเด็กโดยเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างสมวัยทั้งสุขภาวะทางกายอารมณ์สังคมและสติปัญญา โดยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีนั้นย่อมส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีด้วย
การป้องกันฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ร่างกายของแม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบฮอร์โมน ในร่างกายโดยเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของเหงือกพบว่าหญิงตั้งครรภ์มักมีปัญหาโรคปริทันต์อักเสบและหากหญิงตั้งครรภ์มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีร่างกายจะยิ่งทำให้เหงือกอักเสบมีความรุนแรงยิ่งขึ้น และนอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์จะมีพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนไปคือ จะมีการกินอาหารระหว่างมื้อมากขึ้นซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อฟันผุได้ง่าย อาการแพ้ท้องของแม่จะมีการอาเจียนเอาน้ำย่อยจาก กระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดออกมาบ่อยหากละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากหรือมีวิธีการดูแลสุขภาพ ช่องปากที่ไม่ถูกต้องก็จะทำให้ฟันผุง่ายกว่าคนปกติ รวมถึงแม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและทารก มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศ-ไทย พบว่าเด็กช่วงอายุ0-3 ปีเป็นช่วงที่ อัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพจังหวัดตรัง ปี 2556-2560พบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ67.458.850.448.4 และ 45.8ตามลำดับ[1] และจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเขตเทศบาลลำภูรา ปี 2558-2560พบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 51.6 ,48.4 และ 43.7ตามลำดับ[1]แม้ว่าอัตราการเกิดฟันผุจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อัตราการเกิดฟันผุยังอยู่ในเกณฑ์สูงและเป็นปัญหาที่สำคัญ จากการศึกษาของ พิศิษฐ์ สมผดุงและคณะ[2] เรื่อง ประสิทธิผลของกิจกรรมการควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์บน ตัวฟันในหญิงตั้งครรภ์ต่อการมีฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ6-30 เดือน ของตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาพบว่าสภาวะการผุของฟันเด็กในมารดาที่ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันด้วยการย้อมสีฟันระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อเด็กมีอายุ 18-30เดือน มีฟันผุ ร้อยละ 27.27 ส่วนเด็กในมารดาที่ได้รับคำแนะนำปกติ เมื่อเด็กมีอายุ 18-30เดือนพบว่ามีฟันผุร้อยละ 63.73พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยฟันผุในเด็ก ระหว่างมารดาทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)จากการศึกษาดังกล่าวจะเห็นว่าการฝึกทักษะการแปรงฟันด้วยการย้อมสีฟันระหว่างตั้งครรภ์ การดูแลช่องปากในช่วงแรก มีความสำคัญมากต่อเด็กและควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ใช้วิธีกำจัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันแบบ Modified bass technique ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งนอก จากนี้จากการศึกษา ของอนันตยา พลสักวาและคณะ[3]เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ในเขตเทศบาลไชย-วาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานีพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุ คือสภาวะอนามัยช่องปาก เนื่องจากคราบจุลินทรีย์เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่ของเชื้อจุลินทรีย์ ผลคือเด็กที่มีคราบจุลินทรีย์มากมีฟันผุมากกว่าเด็กที่มีคราบจุลินทรีย์น้อย การศึกษาชี้ให้เห็นว่าการไม่แปรงฟันหรือแปรงฟันไม่มีประสิทธิภาพมีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างชัดเจน ดังนั้นการสร้างความตระหนักในเรื่องสุขภาพช่องปากแก่มารดา เป็นหนทางหนึ่งในการลดความรุนแรงของการเกิดโรคฟันผุในเด็กวัยก่อนเรียนได้วิธีที่ง่ายและดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการย้อมสีฟัน นอกจากจะป้องกันฟันผุของมารดาแล้วยังเป็นการลดเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากของมารดาก่อนคลอดซึ่งจะช่วยชะลอหรือป้องกันการติดเชื้อในช่องปากของลูกได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภูราได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์จึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ประจำปี 2561 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง ได้รับสิ่งกระตุ้นจูงใจสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้ได้เพิ่มกิจกรรมการเยี่ยมบ้านหลังคลอดเพื่อติดตามการดูแลช่องปากแม่และลูกเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของแม่ เพื่อนำไปสู่สภาวะช่องปากที่ดีของแม่และลูกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและประเมินปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุ

หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลจำนวน 25 คน

1.00
2 หญิงตั้งครรภ์ที่เยี่ยมบ้านได้รับการฝึกแปรงฟันและลงมือปฏิบัติจริงและฝึกการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี

หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลจำนวน 25 คน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมที่ 1เยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ 1.1 ตรวจฟันย้อมสีฟันและให้ทันตสุขศึกษา
    1.2 ฝึกสาธิตการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันแบบปฏิบัติจริงโดยทันตบุคลากร 1.3 ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ จ่ายน้ำยาอมบ้วนปากฟลูออไรด์ ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงและเสี่ยงปานกลาง 2.กิจกรรมที่ 2เยี่ยมบ้านหญิงหลังคลอด 2.1 ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากตัวเองและลูก
    2.2 สาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากโดย อสม./นสค.
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพช่องปากดีขึ้น
    1. หญิงหลังคลอดสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูกได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 10:06 น.