โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต อาลัยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต อาลัยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน |
รหัสโครงการ | 61-2986-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 30 มิถุนายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มิถุนายน 2561 |
งบประมาณ | 22,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางภัทรพรรัตนซ้อน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.604,101.401place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2561 | 30 มิ.ย. 2561 | 22,500.00 | |||
รวมงบประมาณ | 22,500.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์อัมภาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2560 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 49.08 และกลุ่มเสี่ยงจากโรคเบาหวานร้อยละ 49.00 ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มปกติ ถ้าไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ในการจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเพือให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต อาลัยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2561 ขึน โดยให้เกิดการแลกเปลียนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการการคัดกรองความดันโลหิตสุง ร้อยละ 90 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ร้อยละ 90 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกินร้อยละ 10 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยเป้นโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 10 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 80 | 22,500.00 | 1 | 22,500.00 | 0.00 | |
27 ก.พ. 61 | 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับหลัก 3 อ. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2. สาธิตการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 3. เรียนรู้การบันทึกการรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับการปรับเปลี่ยน โดยสมุดบันทึกสุขภาพ | 80 | 22,500.00 | ✔ | 22,500.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 80 | 22,500.00 | 1 | 22,500.00 | 0.00 |
- การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2 ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา , อสม. และผู้เข้าร่วมโครงการฯ 1.3 ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง 1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการฯ/คณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดประชุม ประสานวิทยาการ ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคเรื้อรังองพื้นที่
- ดำเนินการจัดโครงการฯ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง 2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลัก 3 อ. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.2 สาธิตการออกกำลังกายง่ายๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 2.3 เรียนรู้การบันทึกการรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับการปรับเปลี่ยน โดยสมุดบันทึกสุขภาพ 2.4 ชี้แจงการประกวดบุคคลต้นแบบ ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่อง 2.5 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรค
- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น
- มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 10:39 น.