กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน
รหัสโครงการ 61-L-1485-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 15 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 37,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบุณยวีร์ชัยประสิทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ ลดละเลิกการสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี25๖๐ เป้าหมายประชากร ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๓,๔๒๒ คน คัดกรองได้ ๓,๒๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๕๙ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๒๖ผู้ป่วยรายใหม่๓ คน และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๔๘ ผู้ป่วยรายใหม่ ๕ คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียนมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ25๖๑ ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

 

0.00
2 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง

ขั้นเตรียมการ

1.ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม

ขั้นดำเนินการ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงดำเนินการครั้งละประมาณ๖0คนดำเนินการแบบเข้าค่ายไป – กลับครั้งที่ 1 จำนวน2 วัน ครั้งที่ 2,3 จำนวนครั้งละครึ่งวันห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ครั้งที่ 4 ห่างจากครั้งที่3 ประมาณ3 เดือนรวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรมถึงการประเมินผล6เดือน

1. ผู้รับผิดชอบโครงการ / คณะกรรมการดำเนินงาน จัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดวันประชุม ประสานวิทยากร ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯจัดเตรียมสถานที่เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคเรื้อรังของพื้นที่

2.ดำเนินการจัดประชุมแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวน 5 ครั้ง โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง(รายละเอียดตามภาคผนวก)

3.สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิต ได้รับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

2.กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 13:29 น.