กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบวร รวมใจ จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุบ้านท่าข้ามปี 3
รหัสโครงการ 61-L8403-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤศจิกายน 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,610.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าข้าม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.041,100.574place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557) พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด โดยในปี 2537 มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศปี 2545 และปี 2550 เพิ่มขึ้นเป้นร้อยละ 9.4 และ 10.7 ตามลำดับ และในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.2 ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงาน กลับมาแนวโน้มลดน้อยลง ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN ) ได้ให้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 หรือ อายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้น ได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ( Aging Society ) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ( Aging Society ) เมือสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20 และอายุ 65 ปีขึ้น เพิ่มเป็นร้อยละ 14 ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สอดคล้องกับฐานข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุ เดือน พฤศจิกายน 2560 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม ที่พบว่าประชากรผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านท่าข้ามนั้น มีจำนวน 213 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,064 คน คิดเป็นร้อยละ 20.02 ทำให้สรุปได้ว่า หมู่บ้านแห่งนี้ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) แล้วเช่นกัน สถานการณ์เช่นนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธุ์อย่างรวดเร็วร่วมกับการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ที่เกิดจากระบบการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีประสิทธิภาพและทันสมัยทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น มีการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และนิยมหันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น (สำนักงานสถิติแห่งชาติ , 2556) การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรในการเข้าสู่สังคมผู้สงอายุโดยสมบูรณ์นี้ เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งในระดับชาติและในระดับโลก เนื่องจากมีผลกระทบอย่างกว้างขวางในระดับมหาภาค ได้แก่ ผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) รายได้ต่อหัวของประชากร การออม และการลงทุน งบประมาณของรัฐบาล การจ้างงานและผลิตภาพของแรงงาน และระดับจุลภาค ได้แก่ ผลต่อตลอดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญที่ต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบและเริ่มดำเนินการล่วงหน้า เนื่องจากมาตรการต่างๆ หลายประการล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ กว่าจะเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม (ชมพูนุท พรหมภักดิ์,2556)
ปัญหาสาธารณสุขในผู้สูงอายุมีหลากหลายด้าน ทั้งปัญหาทางร่างกายที่เสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์ จิตใจ และจิตวิญญาณซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุ คือ การพลัดตกหกล้ม จากข้อมูลสถิติสาธารณสุข (สำนักนโยบาลและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข,2557) พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากสาเหตุการพลัดตกหกล้มกว่า 1,000 คนต่อปี หรือ เฉลี่ยวันละ 3 คน โดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงกว่า 3 เท่า โดยพบว่า เพศหญิงมีการพลัดตกหกล้มสูงกว่าเพศชาย และเพศหญิงจะหกล้มในตัวบ้าน และบริเวณรั้วบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องครัว และห้องน้ำ เป็นต้น ในขณะที่เพศชายมักหกล้มบริเวณนอกบ้าน ขณะเดินทาง และในสถานที่ทำงาน เช่น ถนนในซอยและถนนใหญ่ ข้ามสะพาน จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ล้ม บนรถเมล์ ไร่ นา ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การบาดเจ็บภายหลังการพลัดตกหกล้ม จะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น อาการฟกช้ำ แผลถลอด กระดูกหัก จนถึงขั้นรุนแรง และเสียชีิวิตได้ (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2557) และจากการเก็บข้อมูลเฉพาะประชากรผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านท่าข้าม ในพื้นที่ 6 โซน (ป่าเหม็ด , วัดท่าข้าม , ซอยไข่เน่า , บ้านใหม่ , หน้าถนน , หลาต้นม่วง , ข่อยเพชร , หลาทวด , ป่ากอ และสันติสุข) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) กำหนดขนาดกุล่มตัวอย่างขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 15 - 30 สำหรับพื้นที่ที่มีจำนวน ประชากรไม่เกิน 1,000 คน (อุมาพร ปุญญโสพรรณ, 2559) จำนวน 52 คน จากประชากรผู้สุงอายุทั้งหมด 197 คน คิดเป็นร้อยละ 26.40 เมื่อวันที่ 27 ต.ค., 1-2 พ.ย. 2560 ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 73.08 โดยมีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี ถึงร้อยละ 50 ไม่ได้ทำงานและไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของหมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 71.15 และ 57.69 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีภาวะโรคเรื้อรังร่วม โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและกระดูกเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 61.54, 21.15, 9.62, 5.77 และ 7.69 ตามลำดับ และในภาพรวมผู้สูงอายุส่วนมากมีการใช้ยาประจำสูงถึงร้อยละ 84.62 และในการดูแลตนเองเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยเหลือ พบว่า ไม่มีการใช้เครื่องพยุงใด ๆ เกินกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 57.69 อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ใช้ไม้เท้าพยุงตัวอยู่บ้าง คิดเป็นร้อยละ 13.46 โดยผู้ที่ไม่ใช่เครื่องพยุงตัวใด ๆ ให้เหตุผลว่า ยังเดิน ช่วยเหลือตนเองและขี่จักรยานได้ และมีบางรายบอก "บัดสีคน" สำหรับอุปกรณ์ช่วยประเภทแว่นตา พบว่า มีอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 30.77 ใส่อุปกรณ์ช่วยประเภทนี้ ที่สำคัญ พบว่า มีถึง 4 ใน 6 โซน ที่พบว่ามีผู้สูงอายุเกิดการพลัดตกหกล้มมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อพิจารณาที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อม พบว่า ทุกโซนยกเว้นโซนหลาต้นม่วง/ข่อยเพชร/หลาทวด มีสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดการพลัดหกล้มได้ง่าย จากรายงานการเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(2559) พบว่า การพลัดตกหกล้มเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองในกลุ่มการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจและมากกว่าร้อยละ 50 พบในผู้สูงอายุ ทั้งเป็นที่ทราบกันดีกว่า การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุแม้ไม่ถึงขั้นทุพพลภาพจนช่วยเหลือตังเองไม่ได้ ก็มักก่อให้เกิดความไม่มันใจในการทำกิจวัตรประจำวัน มีความวิตกกังวล กลัวการอยู่ลำพัง ไม่อยากไปไหนไกลๆหรือออกจากบ้าน เกรงใจลูกหลานมากขึ้น ทำให้การพบปะผู้คนหรือการเข้าสังคมลดลง ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองลดลง และทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ดังนั้น การเตรียมการเพื่อรองรับและป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะนอกจากช่วยลดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นอีกด้วย สำหรับการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนที่ผ่านมา แบ่งปัจจัยเสี่ยงออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายนอก(lntrinsic factors) และปัจจัยภายใน(Extrinsic factors) โดยปัจจัยภายในหมายถึง ลักษณะภายในร่างกายของแต่ละบุคคลที่ส่งผลให้เกิดการหกล้ม ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น เพศหญิง การมีโรคประจำตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความผิดปกติด้านการเดินและการทรงตัว ความบกพร่องทางสติปัญญา ด้านปัจจัยภายนอก หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ การใช้ยา พฤติกรรมเสี่ยงต่อการหกล้ม และสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย(Deandrea etal.,2010, อ้างถึงใน กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์, 2516) จากข้อมูลและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านท่าข้าม นำโดยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับโรงเรียนวัดท่าข้าม วัดท่าข้าม และหน่วยงาน/องค์กาของรัฐ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม ตลอดจนคณะพยาบาลศาสตร์ หมาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการ ‘บวร’ รวมใจ สร้าง ‘จิตอาสาวัยใส’ ใส่ใจผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยปีนี้ มีวัตถุประสงค์หลักที่มุ่งเน้น เพื่อการป้องกัน ลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ลดทัศนคติที่ไม่ดีในการใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกันประเภทไม้เท้า จัดให้มีการลงนามจัดตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุ ประจำหมู่ที่ 3 บ้านท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้ชุมชนหมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged Society) แล้วนั้น ได้มีคณะทำงานในการกำหนดวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ ตลอดจนแผนงานเพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ เป็นตัวอย่างชุดเข้มแข็งในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป โดยยังคงเน้นการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านกายจิต สังคม และจิตวิญญาณ ที่ยึดมั่นในหลักการ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ตามแนวพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 ในการสร้างชุมชนให้เข้าแข็งอย่างสมดุล เกิดสังคมแห่งการเกื้อกูล และร่วมพัฒนานักเรียนที่สมัครเป็น “จิตอาสาวัยใส” ปีที่ 3 โดยมุ่งเน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะ การส่งเสริมความกตัญญูรู้คุณและการมีส่วนร่วมในการใช้ความรู้ที่ได้รับเรื่องการนวดการอ่านคำคม – คำธรรมและศักยภาพตนเอง ในการคิดวิเคราะห์ภาพถ่ายที่เลือกสรร เพื่อการเข้าถึงผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านเทคนิค “ภาพชีวิตลิขิตเรื่องราว (Photo Novella)” เพื่อการกระตุ้นเตือน และทำความเข้าใจในความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่ออกเยี่ยมบ้านร่วมกับนักศึกษาพยาบาล เป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในงานจิตอาสาวัยใส ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลอย่างแท้จริงเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับนักเรียน ซึ่งเป็นบุตรหลานในชุมชนมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และก่อให้เกิดจิตสำนึกสาธารณะและการมีทัศนคติที่ดี ในการเป็นจิตอาสาของนักเรียนจิตอาสาอีกทางหนึ่งด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนในชุมชน เกิดจิตสาธารณะในการทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนในชุมชนได้มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลผู้สุงอายุในชุมชน 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่มีไปดูแลผู้สูงอายุได้จริง 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ในการดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เกี่ยวกับ การป้องกันการพลัดตกหกล้ม การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการใช้ยาในผู้สูงอายุ 5. เพื่อเสริมสร้างคุณค่าในการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ 6. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สูงอายุ นักเรียนและคนในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสำรวจปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในชุมชน
  2. ลงสำรวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุและรายเยี่ยมของนักศึกษาพยาบาลที่ต้องการดูแลอย่างใกล้ชิด
  3. ประชาสัมพันธ์รับสมัครนักเรียนจิตอาสาทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่
  4. ประชุมร่วมกับโรงเรียนวัดท่าข้าม เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนที่มีต่อโครงการ
  5. สร้างปฏิสัมพันธ์กับตัวแทนนักเรียนจิตอาสาโรงเรียนวัดท่าข้าม
  6. เตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลและนักเรียนจิตอาสา โดยการให้ความรู้ เรื่อง การนวดในผู้สูงอายุและภาพชีวิต ลิขิตเรื่องราว
  7. ประกวดสมุดรวมผลงานเพื่อเป็นตัวแทนดังกล่าวในงานวันมหกรรมสุขภาพ
  8. ออกแบบและจัดทำสื่อประกอบการจัดทำโครงการ
  9. ติดต่อประสานงาน ในการใช้สถานที่และอุปกรณ์เครื่องเสียง
  10. เชิญผู้แทนชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม
  11. ติดต่อประสานงานเรื่องอาหารว่าง ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม
  12. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้สูงอายุ ที่มีความสนใจเข้าร่วม
  13. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการทำกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุ
  2. นักเรียนสามารถนำความรู้ เกี่ยวกับการนวดผ่อนคลาย ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
  3. นักเรียนมีความกล้าแสดงออก ต่อสาธารณะมากขึ้น
  4. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ในการดุแลสุขภาพของตนเอง
  5. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และมีการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น
  6. สมาชิกในชุมชน ให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ มากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 16:20 น.