กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน หมู่ที่1 บ้านแม่เตย ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
รหัสโครงการ 61-L8403-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดแม่เตย
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤศจิกายน 2560 - 6 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดแม่เตย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.041,100.574place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นโรคที่พบมากในเด็กวัยเรียน อนุบาล ประถมศึกษาโดยเฉพาะเด็กนักเรียนหญิง เกิดจากความไม่รักษาความสะอาดของร่างกายเป็นโรคที่น่ารังเกียจและยังทำให้สุขภาพไม่ดี เสียสมาธิในการเรียนก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่เป็นโรคนี้ เนื่องจากการคันหนังศรีษะ จากการสำรวจ พบว่านักเรียนผู้หญิง จำนวน 35 คน ของนักเรียนหญิงทั้งหมดของโรคเรียนวัดแม่เตย ประมาณ 89 เปอร์เซนต์ เป็นเหาดังเหตุนี้ กลุ่มนักเรียนแพทย์ จึงได้จัดทำศึกษาค้นคว้าภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าใบน้อยหน่าสามารถกำจัดเหาได้ดีมากโดยไม่เป็นอันตรายและไม่มีอาการแพ้เหมือนใช้สารเคมี และอีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จักใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรท้องถิ่นรักษา เด็กที่เป็นเหา และป้องกันโรคเหาลดการระบาดต่อไป กลุ่มนักศึกษาแพทย์โดยร่วมมือกับทางโรงเรียนและผู้ปกครอง เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนสามารถดูแล รักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง นักเรียน สามารถ ดูแลรักษา ความสะอาดของร่างกายตนเอง

0.00
2 2. ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง นักเรียน สามารถ ดูแลรักษา ความสะอาดของร่างกายตนเอง

ร้อยละ 80 นักเรียนสามารถทำแซมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร

0.00
3 3. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุม วางแผนการดำเนินโครงการกำจัดเหาในวัยเรียน
  2. กำหนด วัน เวลา ดำเนินโครงการ จัดทำแผ่นพับ จัดหาอุปกรณ์
  3. ติดต่อประสานงานวิทยากรที่ให้ความรู้
  4. ดำเนินการให้ความรู้นักเรีึยน เกี่ยวกับเหา และขั้นตอนการทำแซมพู
  5. ดำเนินการสระผมด้วย แซมพูกำจัดเหา
  6. ติดตามผลกำจัดเหาเป็นระยะ
  7. ประเมินผล และสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถอบสมุนไพรท้องถิ่นมาใช้กับนักเรียนในการกำจัดเหาได้
  3. ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 16:25 น.