โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน เครือข่ายมุ่งมั่น ป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน เครือข่ายมุ่งมั่น ป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 61-L8403-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม |
วันที่อนุมัติ | 1 ธันวาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2560 - 30 ธันวาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.041,100.574place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาระดับชาติ มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง เกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกๆปีจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือทันท่วงทีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นในแต่ละปีจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการควบคุมและป้องกันโรคอย่างมหาศาล
จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี ของตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีรายงานอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนดมาตลอดตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปี 2559โดยพบผู้ป่วยในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2555 – ปี 2559 จำนวน 40 , 54 , 39 ,14 และ45 ราย ตามลำดับคิดเป็นอัตราป่วย470.20 ,618.91, 446.99 ,170.90และ 549.32ต่อแสนประชากรตามลำดับ สำหรับการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2560 ( 1 ม.ค.- 30 ต.ค.60 ) พบผู้ป่วยจำนวน 19 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 231.93ต่อแสนประชากร ซึ่งจากข้อมูลพบว่ามีการเกิดโรคทุกปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมโรคอย่างจริงจัง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาได้เล็งเห็นถึงปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อควบคุมโรคและลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ตลอดจนสร้างกระแสให้ภาคประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคของเครือข่ายในชุมชนให้มีความพร้อม ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อสร้างกระแสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการเฝ้าระวังโรคในชุมชน
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
การเตรียมการ 1. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปปัญหาการดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในรอบปีที่ผ่านมา 2. เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ การดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการฯ 2. ประชุมแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายให้มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกเพื่อเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ 3. จัดประชุมเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อให้กับทีมเฝ้าระวัง สอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ( SRRT ) เพื่อให้สามารถดำเนินงานสอบสวน ควบคุมโรคในชุมชน 4. อบรมนักเรียนในการเฝ้าระวังโรคในโรงเรียนและชุมชนจำนวน 196คนจาก 4 โรงเรียน 5. สร้างกระแสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโดย 5.1เชิญชวนให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านของตนเองผ่านหอกระจายข่าวและ ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 5.2จัดกิจกรรมสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายเดือนละ 1 ครั้งโดยอสม. 6. ทีม SRRT ตำบล ลงสอบสวนและควบคุมโรคในกรณีมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 7. ขอความอนุเคราะห์ส่วนสาธารณสุข อบต.ท่าข้าม/สสอ.หาดใหญ่ลงพ่นเคมีกำจัดยุงเมื่อมีผู้ป่วยในพื้นที่ 8. สรุป/ประเมินผลการดำเนินโครงการ
ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุมชนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 16:53 น.