กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู้ภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L8403-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.041,100.574place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ติดต่อโดยยุงลายรับเชื้อไข้เลือดออกจากผู้ป่วยไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนปกติในตอนกลางวัน ทำให้คนปกติมีอาการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกหากไม่มีการวางแผนและการควบคุมการระบาดที่ดีพอจะทำให้โรคดังกล่าวแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว สำหรับอาการของโรคดังกล่าวผู้ป่วยมีอาการไข้สูง คล้ายไข้หวัด มีจุดเลือดออกตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ช็อคและเสียชีวิตในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที โรคดังกล่าวมักมีอาการรุนแรงในเด็ก0 – 12 ปี เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ และเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 – 26 กันยายน 2560 จังหวัดสงขลามีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2,754 ราย อัตราป่วย 195.47 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 5 ราย (หาดใหญ่ 2 ราย, สะเดา 2 ราย, รัตภูมิ 1 ราย) อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.18 ในส่วนของอำเภอหาดใหญ่ มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 911 ราย อัตราป่วย 232.15 ต่อแสนประชากร ตำบลท่าข้ามมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 19 ราย อัตราป่วย 231.93 ต่อแสนประชากร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกับประชาชนในหมู่บ้าน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความตระหนัก ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และการมีส่วนร่วมในการป้องกันตนเอง มิให้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู้ภัยไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ๆ มีการระบาดซ้ำซาก ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ระหว่างผู้ป่วยไข้เลือดออก กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่นั้น และเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง มีให้เจ็บป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกต่อไป ทั้งนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการตามบทบาทและภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก ระหว่างผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ๆ มีการระบาดซ้ำซาก

ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก ครอบคลุมพื้นที่ๆมีการระบาดซ้ำซาก 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก ระหว่างผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ๆ มีการระบาดซ้ำซาก

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. คัดเลือกพื้นที่ๆ มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก
  2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก ระหว่างผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดมาตรการทางสังคม ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนสามารถป้องกันตนเอง มิให้เจ็บป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 17:09 น.