โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีมีครรภ์
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีมีครรภ์ |
รหัสโครงการ | 61-L5292-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อบต.ทุ่งบุหลัง |
วันที่อนุมัติ | 12 กุมภาพันธ์ 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 9 มีนาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 8 เมษายน 2561 |
งบประมาณ | 9,032.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.ทุ่งบุหลัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | รพ.สต.ตำบลทุ่งบุหลัง |
พื้นที่ดำเนินการ | รพสต.ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.047,99.692place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การอนามัยแม่และเด็กเป็นรากฐานของการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะแม่ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก การที่จะให้เด็กเกิดมามีชีวิตรอดปลอดภัยมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง คือสมบูรณ์ที่ร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด เป็นพลเมืองดีและเยาวชนที่ดีของชาติย่อมขึ้นอยู่กับแม่ที่จะต้องวาง รากฐานให้เด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์และเป็นแม่ที่ดีมีคุณภาพแม่จึงเป็นคนที่สำคัญที่สุด เป็นคนที่จะดูแลเพื่อให้ลูกเจริญ เติบโตแข็งแรง น่ารัก ฉลาด เป็นคนดี ซึ่งจะต้องส่งเสริมพัฒนาการลูก ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ถึงอายุ ๒ ขวบ เพราะเป็นช่วงที่มีความสำคัญสำหรับลูกน้อยในการที่แม่จะส่งเสริมพัฒนาการของลูก ปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก คือเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย คือ เด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ซึ่งเด็กเหล่านี้มีโอกาส ติดเชื้อได้ง่าย ส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้าและมีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลังร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลังจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยสตรีมีครรภ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้องเหมาะสม ส่งผลให้ทารกแรกคลอด มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจะทำให้ทารกทุกคนมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการดีเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้แม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุตรตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด
|
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตั้งแต่ 0 - 6 ปี
|
0.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาบทบาทในการดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน โดย อสม.
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. ขั้นเตรียมการ ๒. ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน - ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง - เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. ขั้นดำเนินการ - ประสานกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง - ประชาสัมพันธ์โครงการ -ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่สตรีมีครรภ์และทบทวนความรู้แก่อสม.รวมจำนวน3๐ คนเป็นเวลา1วัน ๔. อสม. ติดตามเยี่ยมเยียนและให้ความรู้แก่แม่หลังคลอดในการดูแลตนเอง การให้นมบุตรและการดูแลบุตรในเขตรับผิดชอบของตนเอง โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากอบต. และรพ.สต. เป็นพี่เลี้ยง ๕. สรุป ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
๑. สตรีมีครรภ์ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุตรตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอด ๒. สตรีหลังคลอดเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ๓. อสม.มีกิจกรรมในการพัฒนาศักยภาพและสามารถดูแลหญิงมีครรภ์และหลังคลอดที่ตนรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2561 09:37 น.