กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยชุมชน
รหัสโครงการ 61-L4164-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยะต๊ะ
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 27 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบาสอรีเด็งพาแน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.426,101.407place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษกิจของประเทศทั้งที่่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไ่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหราสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาอำเภอรามันพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและอาการเข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 67 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.92 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ไม่เกิด 80 ต่อแสนประชากร)จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชากร องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธฺ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราการป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลง จากเกณฑ์ไม่เกินอัตราป่วย 80 ต่อแสนประชากร
  2. อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 0.12
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,600.00 0 0.00
1 มี.ค. 61 - 27 ก.ย. 61 โครงการไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยชุมชนตำบลยะต๊ะ ปี 2561 0 13,600.00 -
  1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
  3. ร่วมกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยแกนนำนักเรียน อสม. และประชาชน
  4. ควบคุมการระบาดโดยกำจัดยุงพาหะ ด้วยวิธีพ่นหมอกควัน ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายและทุกครั้งเมื่อมีการรายงานผู้ป่วย
  5. รวบรวมข้อมูลสรุปและประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักและให้ความร่วมมือในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ไม่ีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่และสามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้
  2. อัตราป่วยจากโรคไข้เลือดออกลดลงและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่มี
  3. ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2561 10:23 น.