กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ประจำปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 2561-L7257-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 49,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจรัญยา เสลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.006,100.503place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยเทศบาลเมืองคอหงส์ มีปัญหาด้านสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีการขยายตัวของเมือง และการมีจำนวนประชากรแฝงเพิ่มขึ้นในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ทำให้เกิดปัญหาสำคัญๆ ดังนี้
๑. ปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นและตกค้างตามถนน คูระบายน้ำ และมีการทิ้งเศษวัสดุ เหลือใช้ต่างๆ มากมาย ตามสถานที่สาธารณะริมถนน ดินของเอกชน เช่น วัสดุก่อสร้าง ของใช้ภายในบ้านต้นไม้กิ่งไม้ เป็นต้นซึ่งเป็นที่อาศัยของพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน อันเป็นบ่อเกิดของโรคติดต่อทางน้ำได้ เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค เป็นต้น

๒. คูระบายน้ำอุดตัน เพราะลักษณะคูเป็นคูระบายน้ำแบบเปิดทำให้มีเศษดิน ทราย หญ้า และขยะมูลฝอยอุดตันจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบ เช่น น้ำไม่ระบายทำให้น้ำท่วมขังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น เป็นที่เพาะพันธ์ของยุงต่างๆ เข่น ยุงลาย ยุงรำคาญ ซึ่งนำโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา โรคเท้าช้าง เป็นต้น

๓. มีหญ้าขึ้นปกคลุมริมถนนและริมคูระบายน้ำ เนื่องจากพื้นผิวถนนของเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ขยายไม่ถึง คูระบายน้ำ และพื้นที่ตรงข้ามกับถนนยังเป็นที่ดินว่างเปล่าอยู่มาก ทำให้มีหญ้าขึ้นปกคลุมถนนและคูระบายน้ำและยังทำให้คูระบายน้ำอุดตันอีกด้วยอาจมีน้ำขังบ่อเกิดของพาหะนำโรคติดต่อ โดยแมลงประกอบกับในขณะนี้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกของพื้นที่ตำบลคอหงส์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่ก่อให้เกิดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก

ทั้งนี้ปัญหาทั้ง ๓ ปัญหาเป็นภารกิจที่เทศบาลจะต้องดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัย แต่ทางเทศบาลเมืองคอหงส์ ขาดกำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการให้ทั่วถึง

ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการชุมชนสะอาด ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง ซึ่งเป็นภารกิจงานเพิ่มเติมจากงานประจำของเทศบาล เนื่องจากยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เพื่อดูแลความสะอาดและสิ่งแวดล้อมในชุมชน การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆ ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนและหน่วยงานต่างๆเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในเทศบาลเมืองคอหงส์ มีสุขภาพดี ตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาวะของประชาชนในชุมชน
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของกลุ่ม เป้าหมายที่กำหนด
  2. จำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของชุมชนทั้งหมด
0.00
2 2. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคติดต่อโดยสัตว์และแมลงในชุมชน
  1. อัตราการเกิดโรคที่มีสัตว์และแมลงเป็นพาหะนำโรคลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49.00 3 32,767.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 ประชุมคณะกรรมการแกนนำชุมชน 0 3.00 0.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 จัดทำแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคร่วมกับชุมชน 0 0.00 0.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อโดยสัตว์และแมลง 0 46.00 32,767.00
  1. ขออนุมัติโครงการ

  2. ประชุมวางแผนการดำเนินการระหว่างเทศบาลกับชุมชน

  3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกับกองช่างและสำนักปลัดและหน่วยงานอื่นๆ

  4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในพื้นที่

  5. ประสานงานกับผู้นำชุมชน สมาชิกสภาเทศบาลฯในพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลการพัฒนาในชุมชน พร้อมกับประสานหน่วยงานภายนอกเพื่อขอกำลังสนับสนุน ได้แก่ หน่วยงานในพื้นที่

  6. ดำเนินการกำกับงานตามแผนพัฒนา ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนสะอาด น่าอยู่ ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์นำโรคติดต่อนำโดยสัตว์ และแมลงต่างๆ

  2. ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคติดต่อในท้องถิ่น

  3. ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดีในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมและมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2561 11:17 น.