กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านปีกใส่ใจ หัวใจและสมอง
รหัสโครงการ 61-L8403-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.041,100.574place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเป็น โรคที่อันตราย และน่ากลัวเป็นอันดับต้น ๆ พบว่าส่วนหนึ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้เกิดจากการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการควบคุมโรคเรื้อรังไม่เหมาะสม นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น , 2560) กล่าวว่า โรคอัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองทำให้เสี่ยชีวิตเป็นอันดับต้นๆ และกำลังคุกคามทั้งไทยและทั่วโลก พบมีผู้เสียชีวิตมากกว่าโรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือด 2 เท่า
จากบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม ณ วันที่ 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย. 2560 พบว่า โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพ 3 อับดับแรกของหมู่ 4 บ้านปีก ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในช่วงเวลาดังกล่าวยังพบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด จำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราตายอย่างหยาบได้ 8.77 ต่อแสนประชากร ซึ่งสอดคล้องกับผลการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน 2560 โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 80 คน พบว่า คนในชุมชนมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง รวมถึงการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 47.5 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 22 จึงนำมาสู่การตั้งประเด็นปัญหาสุขภาพเพื่อการทำกระบวนการกลุ่มเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าชุมชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้เกี่ยวกับการเกิดโรค และขาดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมโรค ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค การจัดการความเครียด การไม่บุหรี่และการไม่ดื่มสุรา ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นชอบในการจัดทำโครงการ "บ้านปีกใส่ใจ หัวใจและสมอง" เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถควบคุมโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.มีความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

 

0.00
2 2. มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เพื่อป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

 

0.00
3 3. มีทักษะในการออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่อง เพื่อป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เตรียมการในการจัดกิจกรรมโครงการ ได้แก่ การคิดชื่อกิจกรรมและรูปแบบการทำกิจกรรม การจัดทำแผนและสื่อการสอน การนำเสนอ และการปรับปรุงแก้ไขแผนและสื่อการสอน ระยะเวลา : ระหว่างวันที่ 9 - 21 พฤศจิกายน 2560 ู้ผู้รับผิดชอบ : กิจกรรมที่ 1 "สมองและหัวใจ ใครทำร้ายเราไม่ยอม" ได้แก่ นางสาวฏิติพร หลักฐาน , นางสาวพัทธ์ธีรา สระชิต , นางสาวภทรพร พิธีการ และนางสาวภัททิยา เรณุมาศ กิจกรรมที่ 2 "สุขภาพดีไม่ต้องอด แค่ลดหวานมันเค็ม" ได้แก่ นางสาวชุติมา ตั้งเลิศอรุณ , นางสาวณพวรรณ รัตนะขวัญ , นางสาวณัชชา สุราตะโก และนางสาวพิกุลแก้ว บุญเชนทร์ กิจกรรมที่ 3 "ยิ่งสูบยิ่งเสี่ยง ยิ่งดื่มยิ่งเดี้ยง" ได้แก่ นางสาวฐานิกา บุญสร้าง , นางสาวฐิตาภา กาญจโน , นางสาวณัชชา โชคพระสมบัติ และนางสาวสิริกานต์ วงศ์ชัยวิวัฒน์ กิจกรรมที่ 4 "ห่างไกลโรค โยกตามตาราง 9 ช่อง" ได้แก่ นางสาวพัชรินทร์ จันทบูรณ์ , นางสาวพิชญาภา ปานแก้ว , นางสาวพิมพ์พิมล โอสถเจริญ และนางสาวเพ็ญพร หนูน้อย 2.นำเสนอแผนโครงการ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม เพื่อของบประมาณในการจัดทำโครงการ ระยะเวลา : วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560
    ผู้รับผิดชอบ : ได้แก่ นางสาวพัทธ์ธีรา สระชิต , นางสาวชุติมา ตั้งเลิศอรุณ , นางสาวณพวรรณ รัตนะขวัญ และนางสาวฐิตาภา กาญจโน 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ระยะเวลา : วันที่ 16 - 22 พฤศจิกายน 2560 ผู้รับผิดชอบ : สมาชิกในกลุ่มทัั้ง 16 คน 4.ติดต่ออาสาสมัคร เพื่อเป็นตัวแทนสาธิตการทำกิจกรรมที่ 4 ห่างไกลโรคโยกตาราง 9 ช่อง และทำการซักซ้อมการเต้นตาราง 9 ช่องแก่อาสาสมัคร ระยะเวลา : วันที่ 16 - 22 พฤศจิกายน 2560 ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายนักศึกษา ได้แก่ นางสาวพัชรินทร์ จันทบูรณ์ , นางสาวพิชญาภา ปานแก้ว , นางสาวพิมพ์พิมล โอสถเจริญ และนางสาวเพ็ญพร หนูน้อย ฝ่ายชุมชน ได้แก่ นางสุจิน หนูขาว , นางปรานี ภัคดี , นางสมใจ นิลสุวรรณ , นางปรานี ไพรชำนาญ , นางสมพิศ ผ่องผุด และนางแดง แก้วเจริญ 5.ทำโครงการ "บ้านปีกใส่ใจ หัวใจและสมอง" ระยะเวลา : วันที่ 22 - 23 พฤศจิกายน 2560
    ุ้ผู้รับผิดชอบ : สมาชิกในกลุ่มทั้ง 16 คน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการในกลุ่มภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
2.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้เรื่องการปรับพฤติกรรมบริโภค การออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไปถ่ายทอดและเผยแพร่แก่สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลอื่นได้ 3.หลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้วผู้เข้าร่วมโครงการยังคงพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและมีการชักชวนกันการออกกำลังกายตามตาราง 9 ช่อง อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2561 15:02 น.