กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 07/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านบ่ออิฐ
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤศจิกายน 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวินัย จันทมณี ผอ.รพ.สต.บ้านบ่ออิฐ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.112,100.638place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไทยที่มีมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วย โรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และ ปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งจะนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือด หัวใจ ตาบอดจากเบาหวานและภาวะไตวายเรื้องรังมากขึ้น ปัญหาสำคัญของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้คือ การเกิดภาวะ แทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ได้แก่ โรค หัวใจ โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ โรคไตวายเรื้อรัง นอกจากนั้นเบาหวานอาจทำให้เกิด ภาวะตาบอดเป็นแผลเรื้อรังที่เท้าและขาจนกระทั่งถูกตัดขา/ตัดนิ้วได้ สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติตระหนักและเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนด้านสุขภาพเพื่อเร่งรัดดำเนิน การอย่างจริงจังในการลดหรือชะลอการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมิให้เพิ่ม มากขึ้นอย่างรวดเร็ว และหากเจ็บป่วยก็สามารถเข้าถึงบริการควบคุมป้องกันความรุนแรงที่มี คุณภาพเพื่อป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบบในพื้นที่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่รับบริการในคลินิก NCD คุณภาพจำนวน 2๐๐ คนโดยจัดให้มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้(Knowledge Management) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาคลินิกเบาหวานและสร้างแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีคุณภาพมาตรฐาน

 

2 ๒. เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

3 ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก สมาชิกชมรมเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง(Good Model)และมีความตระหนักในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในด้านการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการในคลินิก NCD เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๒. นำเสนอปัญหาต่างๆ ในการดำเนินการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่เทศบาลตำบลเกาะแต้ว เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ๓. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ จากเทศบาลตำบลเกาะแต้ว ๔. ประสานงานกับหน่วยงาน cupเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามโครงการ ๕. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงานตามโครงการ ๖. กำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานในคลินิก โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ - ให้บริการผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
ประเมินค่า BMIตรวจรักษาโรคโดยพยาบาลเวชปฏิบัติรับยาและคำอธิบายการใช้ยา ผลข้างเคียง
และประเมินความถูกต้องในการรับประทานยาของผู้ป่วย โดยเภสัชกร - ผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน
- ผู้ป่วยเข้าร่วมทำ กิจกรรมกลุ่มโดยให้ good model มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเสริมสร้างกำลังใจแก่กัน (KM ในคลินิกเบาหวาน) โดยมีการบันทึกค่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยแต่ละคนลงในสมุดบันทึก เพื่อดูแนวโน้มของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และหาแนวทางการแก้ไขร่วมกันของกลุ่มให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพต่างๆ ให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น เช่นการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน สอนและสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย สรุปเนื้อหา สำคัญนัดหมายการพบกันครั้งต่อไป
- ตรวจสุขภาพประจำปี (เจาะเลือด ตรวจตา ตรวจเท้า) ให้กับผู้ป่วยตามเกณฑ์อย่างน้อย ปีละ1 ครั้ง - ประชุมทีม จนท. และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย เพื่อประเมินแนวโน้มในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย - จนท.และ อสม ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (CVD RISK ตามแบบประเมิน color chart ที่ ๓๐% – ๔๐%,>๔๐%)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการการดูแลภาวะสุขภาพอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ๒. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ สามารถจัดการกับความเครียดได้และสามารถ ลดละ เลิก การสูบบุหรี่ได้ ๓.ผู้ป่วยและญาติ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่ออิฐ
๔. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิต จากโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2560 09:46 น.