กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ


“ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ ”

ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางนอรีซัม มะเกะ

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ

ที่อยู่ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2476-3-29 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 17 สิงหาคม 2561 ถึง 17 สิงหาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 61-L2476-3-29 ระยะเวลาการดำเนินงาน 17 สิงหาคม 2561 - 17 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 6,528.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสาร อาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ 2 - 3 ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ชึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนาการทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง 3 เดือนหลัง การตั้งครรภ์จนถึงอายุ 18 - 24 เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการ แบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุด เมื่ออายุ ๓ ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน เช่น หัวใจ จะพบว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่แน่นหนา และการบีบตัวไม่ดีตับ จะพบไขมันแทรกอยู่ในตับ เซลล์เนื้อตับมีลักษณะบางและบวมเป็นน้ำสาเหุตให้ทำงานได้ไม่ดีไต พบว่าเซลล์ทั่วไปมีลักษณะบวมน้ำและติดสีจาง กล้ามเนื้อ พบว่าส่วนประกอบในเซลล์ลดลง มีน้ำเข้าแทนที่ นอกจากการขาดสารอาหารแล้วการได้รับอาหารเกิน ในรายที่อ้วน ก็ถือเป็นภาวะทุพโภชนาการ เป็นการได้รับอาหารมากเกินความ ต้องการ พลังงานที่มีมากนั้นไม่ได้ใช้ไป พลังงานส่วนเกินเหล่านั้น ก็จะแปลงไปเป็นคลอเลสเตอรอล เกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่างๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ คือสาเหตุที่เกิดจากอาหารสาเหตุที่เกิดจากร่างกาย ส่วนระดับของการเกิดภาวะทุพโภชนาการ มีอยู่ 4 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เซลล์ และเนื้อเยื่อมีสารอาหารลดต่ำกว่าปกติ แต่ยังไม่เกิดอาการผิดปกติระดับที่ 2 ปริมาณสารอาหารในเลือดหรือปัสสาวะลดต่ำกว่าปกติ ระดับที่ 3 อวัยวะทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม ระดับที่ 4 มีอาการที่แสดงบ่งชี้ถึงโรคขาดสารอาหารอย่างชัดเจน อาจเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิตโรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ เช่น โรคเกาต์ โรคเลือดจาง โรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอก โรคคอพอก โรค ตาฟาง โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคขาดโปรตีน โรคนิ่ว โรคลักปิดลักเปิด โรคหัวใจขาด เลือด โรคกระดูกอ่อน องค์การยูนิเซฟ" หรือกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีอัตราขาดสารอาหาร หรือที่เรียกว่า “ทุพโภชนาการ" สูงสุดในประเทศผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีรายจังหวัด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีใน จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น ซึ่งหมายถึงความสูงต่ำ กว่าเกณฑ์อายุ หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า "ผอมแห้ง" ก็ได้ โดยเด็กที่มีภาวะผอมแห้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ แยกเป็นใน จ.นราธิวาสมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นถึงร้อยละ 29 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 11 เท่านั้น ขณะที่ จ.ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีภาวะเตี้ยแคระแกร็นอยู่ที่ร้อยละ 21 ร้อยละ 19 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (3 – 4 ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอตำบลดุซงญอ ที่ผ่านมาพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 8.2มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโตของสมองสารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมองหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจะส่งผล กระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญาของเด็กซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคตสาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในการดำเนินการที่ผ่านมาครูผู้ดูแลเด็กพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารรณสุขได้มีการติดตาม ออกเยี่ยมให้ความรู้ผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็น ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
  2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ 2. ติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการ และเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะโภชนาการทุก ๆ 1 เดือน 3. ส่งเสริมการจัดอาหารกลางวันใน ศพด.บ้านดุซงญอให้ถูกตามหลักโภชนาการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เด็กอายุ 3 – 4ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ มีภาวะโภชนาการปกติ และไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
  2. เด็กอายุ 3 – 4ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย
  3. ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการ ศพด. บ้านดุซงญอ มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ3 – 4 ปี
  4. ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการ ศพด. บ้านดุซงญอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการอาหารให้เด็กได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ 2. ติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการ และเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะโภชนาการทุก ๆ 1 เดือน 3. ส่งเสริมการจัดอาหารกลางวันใน ศพด.บ้านดุซงญอให้ถูกตามหลักโภชนาการ

วันที่ 26 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ  เพื่อจัดทำโครงการ ฯ  และเสนอโครงการ ฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ 2.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 3.ประสานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ประสาน รพ.สต.ดุซงญอ เพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำ การตรวจและคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยอย่างเข้ม หลักโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะอนามัยที่ดี  และกำหนดกิจกรรมโครงการ
4. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่มีอายุ  3 – 4 ปี  ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ 5. ประสานงานจัดหาวิทยากรให้ความรู้การเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6.  จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง  คณะกรรมการ และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ 7. ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะทุพโภชนาการทุกๆ  ๑ เดือน 8. ส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 9. ส่งเสริมการจัดอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ถูกตามหลักโภชนาการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เด็กอายุ 3 – 4  ปี  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ มีภาวะโภชนาการปกติ และไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
  2. เด็กอายุ 3 – 4  ปี  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย 3.ผู้ปกครอง  ครู ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการ ศพด. บ้านดุซงญอ มีความรู้  ความเข้าใจ  ถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ  3 – 4 ปี 4.ผู้ปกครอง  ครู ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการ ศพด. บ้านดุซงญอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการอาหารให้เด็กได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

 

88 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
ตัวชี้วัด : จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
100.00 75.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
ตัวชี้วัด : จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3 - 4 ปี) มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
75.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 75
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ (2) เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ 2. ติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการ และเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะโภชนาการทุก ๆ 1 เดือน 3. ส่งเสริมการจัดอาหารกลางวันใน ศพด.บ้านดุซงญอให้ถูกตามหลักโภชนาการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดุซงญอ จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2476-3-29

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนอรีซัม มะเกะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด