กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ
รหัสโครงการ 61-L2476-3-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 สิงหาคม 2561 - 14 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 17 กันยายน 2561
งบประมาณ 7,144.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาวาเฮ แวหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสาร อาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การย่อย การดูดซึม ในระยะ 2 - 3 ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ชึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนาการทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง 3 เดือนหลัง การตั้งครรภ์จนถึงอายุ 18 - 24 เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการ แบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุด เมื่ออายุ 3 ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน เช่น หัวใจ จะพบว่า กล้ามเนื้อหัวใจไม่แน่นหนา และการบีบตัวไม่ดีตับ จะพบไขมันแทรกอยู่ในตับ เซลล์เนื้อตับมีลักษณะบางและบวมเป็นน้ำสาเหุตให้ทำงานได้ไม่ดีไต พบว่าเซลล์ทั่วไปมีลักษณะบวมน้ำและติดสีจาง กล้ามเนื้อ พบว่าส่วนประกอบในเซลล์ลดลง มีน้ำเข้าแทนที่ นอกจากการขาดสารอาหารแล้วการได้รับอาหารเกิน ในรายที่อ้วน ก็ถือเป็นภาวะทุพโภชนาการ เป็นการได้รับอาหารมากเกินความ ต้องการ พลังงานที่มีมากนั้นไม่ได้ใช้ไป พลังงานส่วนเกินเหล่านั้น ก็จะแปลงไปเป็นคลอเลสเตอรอล เกาะจับแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอาจลุกลามเข้าสู่เส้นเลือด ผลที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคต่างๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ คือสาเหตุที่เกิดจากอาหารสาเหตุที่เกิดจากร่างกาย ส่วนระดับของการเกิดภาวะทุพโภชนาการ มีอยู่ 4 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เซลล์ และเนื้อเยื่อมีสารอาหารลดต่ำกว่าปกติ แต่ยังไม่เกิดอาการผิดปกติระดับที่ 2 ปริมาณสารอาหารในเลือดหรือปัสสาวะลดต่ำกว่าปกติ ระดับที่ 3 อวัยวะทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม ระดับที่ 4 มีอาการที่แสดงบ่งชี้ถึงโรคขาดสารอาหารอย่างชัดเจน อาจเป็นอันตรายและทำให้เสียชีวิตโรคที่เกิดจากภาวะทุพโภชนาการ เช่น โรคเกาต์ โรคเลือดจาง โรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอก โรคคอพอก โรค ตาฟาง โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคขาดโปรตีน โรคนิ่ว โรคลักปิดลักเปิด โรคหัวใจขาด เลือด โรคกระดูกอ่อน องค์การยูนิเซฟ" หรือกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีอัตราขาดสารอาหาร หรือที่เรียกว่า “ทุพโภชนาการ" สูงสุดในประเทศ ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีรายจังหวัด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีใน จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น ซึ่งหมายถึงความสูงต่ำ กว่าเกณฑ์อายุ หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า "ผอมแห้ง" ก็ได้ โดยเด็กที่มีภาวะผอมแห้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ แยกเป็นใน จ.นราธิวาสมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นถึงร้อยละ 29 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 11 เท่านั้น ขณะที่ จ.ยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีภาวะเตี้ยแคระแกร็นอยู่ที่ร้อยละ 21 ร้อยละ 19 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (3 – 4 ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะตำบลดุซงญอที่ผ่านมาพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 9.40มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญเติบโตของสมองสารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมอง หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในการดำเนินการที่ผ่านมาครูผู้ดูแลเด็กพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารรณสุขได้มีการติดตาม ออกเยี่ยมให้ความรู้ผู้ปกครองแต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและจำเป็น ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

100.00 85.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3 - 4 ปี) ที่มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
14 ส.ค. 61 1. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ 2. ติดตามเด้กที่มีภาวะโภชนาการ และเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะโภชนาการทุก ๆ 1 เดือน 3. ส่งเสริมการจัดอาหารกลางวันใน ศพด.บ้านรือเปาะให้ถูกตามหลักโภชนาการ 99 7,144.00 7,144.00
รวม 99 7,144.00 1 7,144.00
  1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะเพื่อจัดทำโครงการ ฯและเสนอโครงการ ฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ประสาน รพ.สต.ดุซงญอ เพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำ การตรวจและคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยอย่างเข้ม หลักโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะอนามัยที่ดีและกำหนดกิจกรรมโครงการ
  4. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่มีอายุ3 – 4 ปีในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
  5. ประสานงานจัดหาวิทยากรให้ความรู้การเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  6. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองคณะกรรมการ และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ
  7. ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ และเด็กที่เสี่ยงเกิดภาวะทุพโภชนาการทุกๆ๑ เดือน
  8. ส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  9. ส่งเสริมการจัดอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ถูกตามหลักโภชนาการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 3 – 4ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ มีภาวะโภชนาการปกติ และไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
  2. เด็กอายุ 3 – 4ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย
  3. ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการ ศพด. บ้านรือเปาะ มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ3 – 4 ปี
  4. ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก คณะกรรมการ ศพด. บ้านรือเปาะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการอาหารให้เด็กได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2561 19:28 น.