กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ
รหัสโครงการ 61-L2476-3-33
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2561 - 20 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 7,144.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยาวาเฮ แวหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ทำให้มีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี แต่สามารถเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน อาการของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว 3-6 วัน โดยหลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเจ็บคอ ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง และอ่อนเพลีย หลังจากมีไข้ 1-2 วัน จะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายในตามมา สาเหตุของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ค็อกซากี้ เอ16 (Coxsackie A16 Virus) และบางส่วนอาจเกิดจากเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) โดยเชื้อไวรัสสามารถติดต่อกันได้ผ่านการไอหรือจาม การสัมผัสของเหลวหรือของเสียที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจาก 2 สายพันธุ์นี้ ยังมีไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ที่สามารถเป็นต้นเหตุของโรคมือเท้าปากได้ คือ กลุ่มเอนเทอโรไวรัส เช่น กลุ่มโปลิโอไวรัส (Polioviruses) กลุ่มค็อกซากี้ไวรัส (Coxsackieviruses) กลุ่มเอ็กโค่ไวรัส (Echoviruses) และกลุ่มเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น ๆ (Enteroviruses) การรักษาโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที หากป่วยด้วยโรคนี้ ผู้ป่วยควรพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ดูแลอาการหรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการป่วย แล้วรอจนกว่าอาการเหล่านั้นจะหายไป แต่หากอาการป่วยไม่บรรเทาลง มีอาการป่วยที่ยิ่งทรุดหนัก หรือมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นเกิดขึ้นอีก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก อาการส่วนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก คือ ภาวะขาดน้ำ เพราะการป่วยทำให้เกิดแผลอักเสบภายในปากและลำคอ ทำให้กลืนลำบากและสร้างความเจ็บปวดขณะกลืนน้ำหรืออาหาร ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบตามมา มักเป็นอาการป่วยทั่วไปที่ไม่รุนแรง ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสพบได้น้อยมาก คือ อาการเล็บมือเล็บเท้าหลุด หรือภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส และภาวะสมองอักเสบ การระบาดของโรคมือ-เท้า-ปาก ในประเทศไทยในขณะนี้แม้ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดอาการไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ดีต้องระวังอาการข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากสำนักระบาดวิทยา ปี 2560 ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2560 พบผู้ป่วย 17,575 รายจาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 26.86 ต่อแสนประชากร อายุที่พบมากที่สุดเรียงลำดับคือ 1 ปี (26.90%)2 ปี (23.40%)3 ปี (17.35%) ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ให้โรคแพร่กระจาย และลดการป่วยของเด็ก จึงได้จัดทำโครงการโรคมือเท้าปากในเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะขึ้น พร้อมทั้งให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

ร้อยละของการแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(คน)

50.00 85.00
2 เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจาก มือ เท้า ปาก ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ

ไม่มีเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ

0.00
3 เพื่อให้ครู, ครูผู้ดูแลเด็ก, ผู้ปกครอง และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก ศพด.บ้านรือเปาะ

ครู, ครูผู้ดูแลเด็ก,  ผู้ปกครอง  และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  มีความรู้  ความเข้าใจและวิธีป้องกันโรคมือ  เท้า ปาก ในเด็ก ศพด.บ้านรือเปาะ มากขึ้น

85.00
4 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากใน ศพด.บ้านรือเปาะ

ไม่มีเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 มิ.ย. 61 1.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กและเด็กเรื่องโรคมือเท้าปากและโรคระบาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. ติดตามเด็กในเรื่องความสะอาดและตรวจสุขภาพทุกเช้าก่อนเริ่มทำการเรียนการสอนทุก ๆ วัน 99 7,144.00 7,144.00
รวม 99 7,144.00 1 7,144.00
  1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะเพื่อจัดทำโครงการ ฯและเสนอโครงการ ฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลรือเปาะ
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกำหนดกิจกรรมโครงการดังนี้ 3.1 ประสาน รพ.สต.บ้านรือเปาะ เพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำดังนี้ 3.1.1กิจกรรมตรวจและคัดกรองด้านสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยอย่างเข้ม

- การป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากแก่เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - การป้องกันและควบคุมโรคทั่วไป 3.1.2การดูแลรักษาและปฏิบัติตนเบื้องต้นเมื่อเด็กเจ็บป่วย 3.1.3หลักโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะอนามัยที่ดี 3.1.4การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงในเด็กอื่น ๆ เช่น โรคหวัดโรคตาแดงโรคอีสุกอีใสโรคอ้วนโรคติดเชื้อต่าง ๆ เป็นต้น 4. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่มีอายุ3 – 4 ปีในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาเกี่ยวกับโรคระบาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5. ประสานงานจัดหาวิทยากรให้ความรู้โรคมือเท้าปากและโรคระบาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองคณะกรรมการ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ 7. ติดตามเด็กในเรื่องความสะอาดและตรวจสุขภาพทุกเช้าก่อนเริ่มทำการเรียนการสอนทุกวัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาเด็กเล็กในกรณีเกิดโรคมือ เท้า ปาก ขึ้นกับเด็กมากขึ้น
  2. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านรือเปาะ สามารถป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ได้
  3. สามารถลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่ออื่นๆ ลดลงส่งผลต่อการพัฒนาการและสุขภาพที่ดีของเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2561 19:30 น.