กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยวัยใส สุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีสน รัษฎาปริวรรต
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัครเดช ศรียาน
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะระบบต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ๆ และความสามารถในการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมหรือภาวะใหม่ในบริบทของครอบครัวและสังคม ซึ่งปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยจากสำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ทุก 3 ปี ของกรมอนามัยโดยเครื่องมือมาตรฐาน Denver ll และนักประเมินพัฒนาการเด็กที่ผ่านอบรม พบว่า เด็กแรกเกิด - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงร้อยละ 71.7 ในพ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 67.3 ในพ.ศ. 2553 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 ในปี 2557 (กลุ่มแม่และเด็ก, 2557) ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยวัยใส สุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

 

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามวัย สามารถค้นพบความผิดปกติ และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ส่งต่อพบแพทย์

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สามารถเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย และสามารถเผยแพร่ความรู้และทักษะในการคัดกรองพัฒนาเด็กปฐมวัยแก่ผู้อื่นได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ในตำบลตันหยงโป
  3. จัดเตรียมความพร้อมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
  4. ประมาณการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ โดยคำนวณจากเป้าหมายประชากร และจัดหา จัดเตรียม
  5. ประชาสัมพันธ์ ติดตาม เชิญชวนผู้ดูแลเด็กปฐมวัย เพื่อนำเด็กเข้ารับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามวัย ตามกลุ่มอายุ (9, 18, 30 และ 42 เดือน)
  6. ให้บริการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ตรวจร่างกาย คัดกรองภาวะซีด จำนวน 2 ครั้ง พร้อมให้ความรู้ เรื่อง/คำปรึกษาเรื่องพัฒนาการและการดูแลการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  7. กระตุ้นและติดตามเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ตลอดจนดูแล/ส่งต่อพบแพทย์ ในรายที่มีความผิดปกติ (สงสัยพัฒนาการล่าช้า)
  8. จัดกิจกรรมให้ความรู้ประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
  9. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตลอดจนได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๕ และเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ได้รับการติดตามแก้ไข อย่างน้อยร้อยละ ๑๐๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 08:44 น.