โครงการให้ความรู้เรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
ชื่อโครงการ | โครงการให้ความรู้เรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี |
รหัสโครงการ | 61-L4151-1-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.กูแบรายอ |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 13,670.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | รพ.สต.กูแบรายอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลละแอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.466,101.186place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุรภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well - being)ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการส่งเสริมสุขภาพ 0.5 ปี พบว่าเด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ปีพ.ศ.2557-2560 พบว่า เด็กมีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 5.42, 5.19, 4.33 และ 2.97 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้การรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาค และเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 2 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกูแบรายอ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อสรา้งความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัยหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย |
0.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในกลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ |
0.00 | |
4 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในกลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ให้ อสม.เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการในกลุ่มเด็ก 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการทุกคน |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ตรวจสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง
2.ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0-5 ปี ในชุมชน พร้อมบันทึกผลลงในสมุดทะเบียนเด็ก 3.จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักตัวเกิน (อ้วน) และเด้กที่มีน้ำหนักตัวน้อย (ผอม) แยกเป็นการเฉพาะ 4.เชิยผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาน้ำหนักตัว เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักตัวเด้ก โดยวิทยากรจาก รพ.สต. โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก ความสำคัญของการเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก - ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามอายุ โดยแจกชุดกระเป๋าฝึกทักษะพัฒนาการเด็ก
6.ส่งเด็กที่สงสัยว่าพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการโดยเจ้าหน้าที่ และได้รับการส่งต่อรักษาโดยแพทย์ 7.ติดตามเยี่ยมบ้าน และชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3-6 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง
- เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม
- ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ลดลง
- ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลด้านโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 09:53 น.