โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมก่อนวัยอันควรในวัยรุ่น
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมก่อนวัยอันควรในวัยรุ่น |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 มิถุนายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลละแอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.466,101.186place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศศึกษา ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์จากสื่อในทางลบ การใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงการบริการคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติการณ์ทางเพศของวัยรุ่นที่สถานการณ์แนวโน้มขณะนี้น่าเป็นห่วงผลกระทบต่างๆนี้ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดกับเด็กและเยาวชน ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย คือประมาณ 12 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของตัวเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง มีน้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม และยังมีผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมทั้งการไม่พร้อมต่อการเลี้ยงลูก กระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นแรงงานราคาถูก ครอบครัวแตกแยก และยังอาจจะเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ปัจจุบันปัญหาเด็กวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการนำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม มีอยู่ทุกภาคส่วนของไทยและมีจำนวนเพิ่มขึ้นรวดเร็ว จากข้อมูลแจ้งเกิดเมื่อปี 2556 พบว่าเด็กวัยรุ่นต่ำกว่า 20 ปี และต่ำกว่า 14 ปี มีการตั้งครรภ์และคลอดบุตร จำนวน 106,756 คน ทั่วประเทศ (ข้อมูลปี 2556) ดังนั้น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ต้องอาสัยความร่วมมืออย่างจริงจัง องคืการบริหารส่วนตำบลละแอจึงจัดทำโครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมก่อนวัยอันควรในวัยรุ่น ประจำปี 2560 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม > 80% |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ครอบครัวมีความอบอุ่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนลูกหลานให้เป้นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย ครอบครัวมีความอบอุ่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนลูกหลานให้เป้นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย |
0.00 | |
3 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ |
0.00 | |
4 | เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรักความเข้าใจกันมากขึ้น เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรักความเข้าใจกันมากขึ้น |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- จัดประชุมแจ้งการดำเนินงานกับคณะกรรมการโรงเรียน เพื่อขอความเห็นชอบในการจัดทำการดำเนินโครงการ 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 3.จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย เรื่อง (3.1) เรื่องเพศศึกษา (3.2) เรื่องปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ขาดการป้องกัน (3.3) การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 4.จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ (4.1) สถาบันครอบครัวและศาสนา (4.2) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว (4.3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม
- ติดตามการดำเนินการตามโครงการฯเพื่อเฝ้าระวัง
- เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 2.ครอบครัวมีความอบอุ่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนลูกหลานให้เป้นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย 3.เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา และการป้องกันการตั้งครรภ์ 4.เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง มีความรักความเข้าใจกันมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 09:59 น.