ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม
ชื่อโครงการ | ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม |
รหัสโครงการ | 61-L5202-7(2)-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะกรรมการมัสยิดประจำมัสยิดบ้านหนำนา |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลมานะ บอเหาะ,นายอับดุลเลาะ มะลี,นายสมาแอ นิฮะ,นายกอและ ใบหมะ,นายอิสมาแอ นิฮะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.483,100.643place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือที่เรียกว่าการเข้าสุนัต เป็นหลักปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาทางวัฒนธรรมและศาสนาเป็นเวลานานมาแล้ว การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชาย เนื่องจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆนี้พบว่าการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้นมีผลดีทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โอกาสที่จะติดโรคทางเดินปัสสาวะน้อยมาก เด็กที่ไม่ได้ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะมีโอกาสไตอักเสบเป็น 10 เท่าของเด็กที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การทำงานของไตและการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติสามารถเกิดขึ้นกับการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้แล้วการติดเชื้อแบคทีเรียจากสิ่งสกปรกที่หมักหมมอยู่ภายใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายก็อาจนำไปสู่การติดเชื้อของไตได้เช่นกัน ผู้ชายที่เข้าสุนัตแทบจะไม่เป็นมะเร็งที่อวัยวะเพศเลย การติดเชื้อที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายที่ไม่เข้าในอายุเท่าใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในตอนอายุ 2 - 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายยังแยกไม่หมด ดังนั้นจึงไม่สามารถถลกให้เปิดออกได้เต็มที่เพื่อทำความสะอาด นอกจากนั้นแล้วเด็กเองก็ไม่สามารถทำความสะอาดให้ตัวเองได้และในที่สุดก็จะต้องไปตัดออกในตอนหลังซึ่งเสียค่าใช้จ่ายแพง ด้วยเหตุนี้ การทำให้แก่เด็กตั้งแต่เกิดมาจึงทำให้สามารถรักษาความสะอาดได้ตลอดชีวิต การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าคนที่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีอัตราเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศน้อยมาก ส่วนผู้ชายที่ไม่ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนั้นจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเพราะในระหว่างการมีความสัมพันธ์ทางเพศนั้น หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถถลอกหรือเป็นแผลเล็กๆที่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปในบาดแผลนั้นได้ เป็นที่คาดกันว่าหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายอาจจะปล่อยให้ไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆสามารถอยู่รอดได้ยาวนานกว่าที่อยู่ข้างนอกและมีเวลามากกว่าที่จะเข้าไปในร่างกาย เมื่อเร็วๆนี้มีการพบว่าเซลล์บางอย่างในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถที่จะดักไวรัสเอชไอวีและทำให้เกิดการติดเชื้อได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก(ฺBleeding)
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรค และลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักการแพทย์ปัจจุบันให้กับเด็กและเยาวชน
|
0.00 | |
4 | 4. เพื่อให้เด็กละเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 1.2 ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 1.3 จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อบริการทำสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชน กิจกรรมบริการทำแก่เด็กและเยาวชน 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อ 2.2 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) 2.3 การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการทำ และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก 3.สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
เด็กและเยาวชนได้รับการทำ (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง)และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 10:02 น.