โครงการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการในชุมชน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลละแอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.466,101.186place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นต้องมีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรทุกเพศทุกวัยมิใช่มุ่งแต่เฉพาะวัยเด็กและวัยรุ่นเท่านั้นควรมีการพัฒนาวัยผู้สูงอายุและกลุ่มคนพิการด้วย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเหล่านี้ คือผู้ดูแลต้องมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกัน ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของ “คนพิการ” หมายความว่า เป็นคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้พิการในที่นี้รวมทั้งผู้พิการที่เกิดจากโรคเรื้อรัง(หลอดเลือดสมอง) และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการหมายความว่าการเสริมสร้างสมรรถภาพ หรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น “ผู้สูงอายุ”หมายความว่าบุคคลซึ่งอายุเกินกว่าหกสิบปีบบริบูรณ์ขึ้นไป“ผู้สูงอายุติดบ้าน” หมายความว่า ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้างในกิจวัตรประจำวัน “ผู้สูงอายุติดเตียง” หมายความว่า ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย มีความพิการที่ต้องการคนช่วยดูแล ผู้ที่อยู่ในระยะจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายความว่า บุคคลที่ยังไม่ถูกประเมินเป็นผู้พิการแต่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็นการได้ยินการเคลื่อนไหวการสื่อสารจิตใจอารมณ์ พฤติกรรมสติปัญญาการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด จากภาวะสุขภาพอนามัย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหรือช่วยเหลือให้มีสมรรถภาพด้านสุขภาพ เพื่อให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลง หรือหมดไป เนื่องด้วยในภาวะสังคมปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอีกทั้งความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สามารถควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ทำให้อัตราการตายลดลงตลอดจนการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการเกิดของประชากรสิ่งเหล่านี้มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ และจากการเปลี่ยนของสังคมก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว พบว่าครอบครัวในสังคมปัจจุบันแยกมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มคนพิการไม่ได้รับการดูแลจากคนรอบข้างอย่างใกล้ชิด จากการสำรวจพบว่าประชาชนในเขตตำบลละแอ มีคนพิการทุกประเภท 104 คน คิดเป็นร้อยละ 2.25 ของประชาชนทั้งหมด มีผู้สูงอายุทั้งหมด 383 คน คิดเป็นร้อยละ 5.97 ของประชากรทั้งหมด และมีผู้สูงอายุติดบ้าน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้เล็งเห็นปัญหาที่ไม่มีผู้ดูแลและประสิทธิภาพของผู้ดูแลการให้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจกับคนในกลุ่มผู้พิการ และผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการ/ผู้สูงอายุติดติดบ้าน ติดเตียงตำบลละแอ ปี2561 เพื่อเปิดโอกาส ให้อาสาสมัครดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุติด้านติดเตียง และผู้พิการ ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการดูแลคนกลุ่มนี้ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
2. ชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
3 .ดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้โดยแยกเป็นกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมในวันที่ 1
1. อบรมให้ความรู้อาสาสมัครผู้ดูแลผู้พิการผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ
2. ฝึกปฏิบัติการทำกายภาพเบื้องต้น
กิจกรรมในวันที่ 2
1. ฝึกทักษะการดูแลผู้พิการ/ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง (ด้านความคิด การพูดให้กำลังใจ การปฏิบัติด้วยใจจริง)
2. ฝึกการทำกายภาพเบื้องต้นกับผู้ป่วย (ลงเยี่ยมcase study)
การประเมินและติดตามผล
1. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ตามโครงการ และรวบรวมหลักฐาน
การใช้จ่ายงบประมาณ
2. เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และประชาชนทั่วไป
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง การดูแลผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงผู้เข้าร่วมโครงการได้รับทักษะในการทากายภาพบำบัดให้กับผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง และผู้พิการ/ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงได้รับการลงเยี่ยมบ้านตามเป้าหมายที่วางไว้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 10:06 น.