โครงการบแก้ไขปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
ชื่อโครงการ | โครงการบแก้ไขปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
รหัสโครงการ | l4151 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลละแอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.466,101.186place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ตำบลละแอทุกปี มักทำให้เกิดภัยพิบัติน้ำท่วม ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หมู่ 3 บ้านกือยา, หมู่ 4 บ้านกูแบรายอ และหมู่ 5 บ้านชะเมาะ ตำบลละแอ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วม ตลอดจนการป้องกันและการแก้ปัญหาโรคระบาดหรือปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นหลังจากน้ำลดแล้ว สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.กูแบรายอ มีความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพขณะเกิดภัยพิบัติและที่จะตามมาหลังหลังจากน้ำท่วม คือ แหล่งน้ำ/บ่อน้ำบริโภคถูกท่วม ปัญหาการระบาดของโรค ปัญหาสุขภาพจิต จากปัญหาดังกว่าวจึงจำเป้นต้องดำเนินการป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ด้วยความรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น รพ.สต.กูแบรายอ ได้เห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันและจัดการภัยพิบัติ หรือโรคระบาด คือ โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากการดื่มน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน หรือแหล่งน้ำ/บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วม โรคผิวหลังเช่นโรคน้ำกัดเท้า การระบาดของโรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้า จากปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วม เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมและโรคระบาด หากมีการเตรียมรับมือกับโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ก็จะลดความสูญเสีย สามารถเอาตัวรอดและปลอดภัยจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยได้รับการดูแล/แก้ปัยหาสุขภาพตามความจำเป็น
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดขึ้นหลังอุทกภัย
|
0.00 | |
3 | เพื่อจัดระบบสุขาภิบาลในครัวเรือน และสิ่งแวดล้อมในชุมชนหลังอุทกภัย
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.จัดทีมเยี่ยมสำรวจสภาพปัญหา ประชาชนในพื้นที่ทุกครัวเรือนร่วมกับทีม อสม.ในพื้นที่ เน้นเยี่ยมกลุ่มยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้องรัง ผู้ป่วยพิการ และผู้ป่วยสูงอายุ 2.รายงานสภาพปัญหาให้ อบต.ละแอ, สสอ.ยะหา และจัดทำแผนดูแล/ ช่วยเหลือกลุ่มยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสุขภาพจิตในช่วงเกิดอุทกภัย 3. เยี่ยมผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแล โดยทีม จนท.สส./ อบต./อสม./ผู้นำชุมชน 4.จัดหายา เวชภัณฑ์ที่จำเป็นเพื่อจัดบริการในชุมชนช่วงอุทกภัย ได้แก่ยาสามัญประจำบ้าน ครัวเรือนละ 1 ชุด ยาที่จำเป็นเพื่อการรักษา/ป้องกันโรค เช่น ยารักษาน้ำกัดเท้า รองเท้าบู๊ท 5.จัดทีมคัดกรองภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยง 6.สำรวจบ่อน้ำที่ถูกน้ำท่วม และลงพื้นที่ใส่คลอรีน สารส้ม พร้อมให้คำแนะนำการจัดระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมหลังน้ำลด 7.สรุปและประเมินผลกิจกรรม
สามารถแก้ปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 10:13 น.