กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงกาารหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 1 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปี 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงกาารหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 1 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5248-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 28,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีติวัฒน์หนูวิลัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรก ๆ ของประเทศไทย คือ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราตาย ๘๕.๐๔ ,๓.๖๔ , ๕๕.๒๕ ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๐)และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ ๑ ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี๒๕๕๐ พบว่า คนไทยมีเพียง ๕ ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปี โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ ๓ ของภาควิชาโภชนวิทยาคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชา เวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า๑๕ปี จำนวน๓๙,๒๙๐คนพบว่า กลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ ๕.๙๗ ลิตร ๔.๕๖ วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง ๒ กระบวนการได้แก่
๑. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ - ๕ วัน ๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ๒. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณ ครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็ลดลงมากเช่นกัน ทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย
ดังนั้น 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริกเห็นความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดหมู่ที่ 1 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปี 2561 ขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.๑ เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 - 5 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารไขมัน ๒.2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย สม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ - ๕ วัน ๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด วันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารไขมัน ๓. ให้ประชาชนมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ - ๕ วัน ๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารไขมัน ๔. เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน

ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 สร้างทีมงาน แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย (รพ.สต ผู้นำชุมชน,โรงเรียน ,วัด) 2 ศึกษาข้อมูลในชุมชน (พฤติกรรมสุขภาพ,ข้อมูลทั่วไป โรค/อัตราป่วย/อัตราตาย,ปัจจัย สาเหตุพฤติกรรมทางสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถาม 3ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบโครงการและจัดทำแผนโครงการ 4จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน (ผู้นำชุมชน, แม่ครัวประจำครัวเรือน, แม่ครัวงานเลี้ยงงาน บุญต่าง ๆ, กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง) ในหมู่บ้านต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย คือ รำไม้พลอง (อุปกรณ์ทำหนังสือยืม อบต.) เต้นแอโรบิค 6จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักกินเองโดยแจกเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว 7เดินรณรงค์สร้างกระแส ”หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง
หัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 1 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปี 2561” 8นัดติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรม จำนวน 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน (ปลายเดือนมกราคม, เมษายน, กันยายน) ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลปริก โดยการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดัน โลหิตสูง 9จัดประกวดกิจกรรมบุคคลต้นแบบ และครัวเรือนต้นแบบ 10ดำเนินกิจกรรมจนสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หมู่บ้านต้นแบบ หมู่ที่ 1 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 70 คน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 10:22 น.