กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนตะโละแมะนา ปลอดลูกน้ำยุงลาย
รหัสโครงการ 61-2986-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 41,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพรรัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 31 ก.ค. 2561 41,850.00
รวมงบประมาณ 41,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไปทุกหมู่บ้านในประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี และพบมีผู้ป่วยสูงสุดในช่วงฤดูฝน สาเหตุที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทำให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้อาจเนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วบงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือน สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดปัตตานี 2560 พบว่า มีผู้ป่วย 1,972 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อำเภอทุ่งยางแดง พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 34 ราย ตำบลตะโละแมะนา ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา จากการศึกษาข้อมูลการระบาดย้อนหลังพบว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะเป็นแบบปีเว้นปี ซึ่งอาจจะมีแนวโน้มการระบาดเกิดขึ้นในปี 2561 หากไม่มาตรการควบคุมและไม่มีการดำเนินการใดๆ อาจเกิดการระบาดในวงกว้างมาสามารถควบคุมโรค และอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงมีการดำเนินโครงการชุมชนตะโละแมะนา ปลอดลูกน้ำยุงลายขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนและเครือข่ายตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงานราชการ บ้าน โรงเรียน มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

0.00
4 เพื่อให้บุคลากรและประชาชนทั่วไปเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสมำ่เสมอ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 61 - 30 มี.ค. 61 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 2. กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3. กิจกรรมประกวดบ้าน โรงเรียน มัสยิด สะอาด ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 160 41,850.00 -
รวม 160 41,850.00 0 0.00
  1. วิธีดำเนินการ
    1.1 ประชุมประสานการดำเนินงานระหว่างครู ผู้นำชุมชน อบต. อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1.2 จัดตั้งคณะทำงานระดับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานสุขภาพในพื้นที่ 1.3 ขอรับการสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไข้เลือดออก จากโรงพยาบาลทุ่งยางแดง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ อสม. และทีมเคลื่อนที่เร็วประจำหมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 60 คน
    2.2 รณรงค์แหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา (บ้าน โรงเรียน มัสยิด และหน่วยงานราชการอื่นๆ) จำนวน 160 คน 2.2.1 ให้ความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.2.2 แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายให้กับประชาชน 2.2.3 ร่วมมือคว่ำกะลาและกำจัดขยะบริเวณบ้านเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ 2.2.4 ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุงลายตัวแก่ในชุมชน 2.2.5 สำรวจค่า HI CI ในชุมชน 2.3 กิจกรรมประกวด บ้าน โรงเรียน และมัสยิด สะอาดปราศจากแหล่งเพาะพัธ์ยุงลาย 2.3.1 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวด 2.3.2 รับสมัครบ้าน มัสยิด โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 2.3.3 จัดตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด 2.3.4 ประกาศผลการประกวด บ้าน โรงเรียน และมัสยิด สะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  2. ประชาชนในชุมชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และโรงเรียน
  4. เครือข่ายมีความรู้ สามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2561 09:17 น.