กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง(ติดบ้าน)ในตำบลท่าเรือ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 25 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ประมาณ 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามลำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และทุกๆ 100 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558) จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือผู้สูงอายุติดสังคม หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ และอีกร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคมตำบลท่าเรือมีผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิงหรือกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำนวน15คนจากผู้สูงอายุทั้งหมด473 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมร้อยละ 73.73 ติดบ้าน ร้อยละ 23.10 และติดเตียงร้อยละ3.17 (ข้อมูล:งาน อผส. กองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ)
จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้า ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงดังนั้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ (ศพอส.) จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้ดูแลสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะเสี่ยง และผู้ป่วยเรื้อรังตำบลท่าเรือ ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง และเกิดความร่วมมือดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการกระตุ้นการทำงานของสมองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและได้ผ่อนคลายความเครียด

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการกระตุ้นการทำงานของสมองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและได้ผ่อนคลายความเครียด

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพจิต มีวิธีขจัดความเครียด

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพจิต และและสามารถขจัดความเครียดเองได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการกระตุ้นการทำงานของสมองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและได้ผ่อนคลายความเครียด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพจิต มีวิธีขจัดความเครียด

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 61 - 25 ก.ย. 61 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุและการดูแลตนเองเพื่อคลายความเครียด จำนวน 2 ชั่วโมง 50.00 7,650.00 -
1 มี.ค. 61 - 25 ก.ย. 61 2. ฝึกปฏิบัติ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและนันทนาการผ่อนคลายความเครียด จำนวน 2 ชั่วโมง 50.00 1,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1 อบรมให้ความรู้เรื่องการสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุและการดูแลตนเองเพื่อคลายความเครียด จำนวน2ชั่วโมง 1.1 กิจกรรมย่อย - บรรยาย “สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ” 30 นาที - บรรยาย “การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด” 30 นาที 1.2 กิจกรรมย่อย - บรรยาย “ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ในผู้มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง”1ชั่วโมง 2. ฝึกปฏิบัติ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและนันทนาการผ่อนคลายความเครียด จำนวน 2ชั่วโมง 2.1 กิจกรรมย่อย - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติผ่อนคลายความเครียดการนวดเพื่อผ่อนคลายความเครียด 2.2 กิจกรรมย่อย - นันทนาการคลายเครียด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย
2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการกระตุ้นการทำงานของสมองเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและได้ผ่อนคลายความเครียด 3.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพจิต และสามารถขจัดความเครียดเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561 09:47 น.